มิถุนายน 14, 2023

การจัดการและการให้อาหารโคพักรีด (Dry cow feed and feeding)

Knowledge ความรู้ทั่วไป

การให้อาหารสำหรับโคพักการรีดนม (Dry period) นี้เป็นการให้อาหารเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับการดำรงชีพ (maintenance) การตั้งครรภ์ (pregnancy) และการเพิ่มน้ำหนักตัว การสะสมไขมัน (Body reserve) ของแม่โคในระยะนี้มีความสำคัญมาก มีผลต่อการผลิตน้ำนมหลังคลอดช่วงต่อไป เนื่องจากระยะแรกหลังจากการคลอดแม่โคจะกินอาหารได้น้อย ในขณะที่มีการสร้างน้ำนมมากนั่นเอง โดยปกติจะหยุดพักรีดนมแม่โคประมาณ 60 วันก่อนคลอด เพื่อให้แม่โคเตรียมตัวสำหรับการคลอดครั้งต่อไป และการให้นมในช่วงต่อๆไป ช่วงนี้โคควรได้รับอาหารดีเน้นการให้อาหารหยาบเป็นหลัก และดูแลให้ดี เช่นเดียวกับโคให้นมเพื่อให้แม่โคมี สภาพร่างกายที่ดี และสุขภาพสมบูรณ์อันจะส่งผลให้แม่โคสามารถให้น้ำานมดีในช่วงต่อๆไปของการให้นม คะแนนร่างกายควรอยู่ที่ 3-3.5 คะแนนและก่อนคลอดโคต้องมีคะแนน 3.5 ถึงจะเป็นแม่โคที่สมบูรณ์จริง ในระยะนี้ไม่ควรเร่งขุนโคโดยไม่จำเป็น แม่โคไม่ควรจะอ้วนเกินไปในระยะก่อนคลอด (มากกว่า4 คะแนน) เพราะถ้าหากแม่โคอ้วนเกินไปแล้ว หลังคลอดจะเกิดปัญหาทางสุขภาพตามมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะโรคระบบเผาผลาญสารอาหารของร่างกายผิดปกติ (metabolic disorders) ต่าง ๆ เช่น คีโตซีด (ketosis), ไข้นม ( milk fever )

เป้าหมายในการพักรีดนมโคทำให้โคมีอัตราการกินอาหารเมื่อให้น้ำนมสูงสุด ลดปัญหาโรคที่เกิดจากการใช้โภชนะในร่างกาย (Metabolic disorders)  โรคทางเมตาโบลิก

1.โรคไขน้ำนม (Milk fever) มักพบในโคนมที่ให้ลูกตัวที่ 3 เป็นต้นไป

2.คีโตซิส (Ketosis) มักพบในโคนมที่ให้น้ำนมสูงในระยะ 3 วัน-3 สัปดาห์หลังคลอด

3.แอซิโดซิส (Acidosis) มักพบในช่วงฤดูแล้งที่ผู้เลี้ยงโคนมให้อาหารข้นแก่โคนมมากเกินไป

4.กระเพาะแท้อยู่ผิดตำแหน่ง (Abomasal displacement) มักเกิดในโคพันธุ์ขาว-ดำซึ่งให้ผลผลิตสูง มักพบในระยะหลังคลอดใหม่ๆ และสัตว์ได้รับอาหารข้นมากอาหารหยาบน้อย

5.Fatty liver มักพบในโคนมที่ขุนจนอ้วนในระยะก่อนคลอด และจะแสดงอาการในระยะหลังคลอดใหม่ๆ

6.รกค้างจากการขาด วิตามิน อี และ ธาตุ ซีลิเนี่ยม ทำให้แม่โคและลูกโคมีการพัฒนาการร่างกายสมบูรณ์ที่สุด

หลักการพักรีดนม

Step 1: ลดการสร้างน้ำนมโดย ลดการให้อาหารข้น + เน้นใช้อาหารหยาบ

Step 2: โคที่ให้ผลผลิตสูง ควรเริ่มจากการรีดนมไม่หมดเต้า 2-3 วัน เพื่อกระตุ้นให้สร้างน้ำนมลดลง จากนั้นเว้นการรีดนมโดย   เช้า-เช้า, เช้า- เช้า, วันเว้นวัน จนสิ้นสุดระยะการรีดนม

Step 3: สอดยาดราย (Long acting) หลังรีดนมมื้อสุดท้าย และจุ่มหัวนมด้วยยาจุ่มหัวนมทันที

Step 4: ดูแลเต้านมช่วงแรกของการพักรีดนม เน้นเรื่องความสะอาด

สูตรอาหารข้นโคพักรีดน้ำนม ในระยะนี้ ควรเป็นดังนี้

โปรตีน 14-16 % พลังงาน 2.5-2.8 Mcal ME/kg DM (TDN 65-70 %) แคลเซี่ยม (calcium ) 0.8 %ฟอสฟอรัส(phosphorus) 0.60 % ไวตามินเอ 18,000-22,000 IU/kgDM ไวตามินดี3,300 IU/kgDM    ไวตามิน อี25 IU/kgDM4 การจัดการดูแลแม่โคใกล้คลอดและในระยะคลอดRuminants production by Dr.Pattaraporn Tatsapong Production and Management of Dairy Cattle229 Agricultural Science, Agriculture Natural Resource and Environment, Naresuan Universityปกติเราจะต้องให้แม่โคพักการรีดนมอย่างน้อย 60 วัน ก่อนคลอดหากแม่โคไม่มีช่วงพักการรีดนมจะมีผลกระทบต่อการให้นมในช่วงถัดไป และจะมีปัญหาการเป็นสัด การผสมติดกันมาก

การจัดการให้อาหารโคพักรีด 60 วัน

ระยะแรกของการพักรีด (พักรีดใหม่ 40 วัน)

  • ระบบปล่อยแปลง:จัดกลุ่มเล็กๆดูแลง่าย เน้นการให้อาหารหยาบ เสริมอาหารข้น 1.5-3.0 กก./วัน(อาหารข้น โปรตีน 14-16%) ขึ้นกับคุณภาพอาหารหยาบ ให้น้ำสะอาด เต็มที่ มีร่มเงาให้พอเพียง ลดการเกิดความเครียด
  • ระบบขังคอก:เน้นความสะอาดของคอก เน้นคอกดินที่แห้ง ให้อาหารหยาบและน้ำเต็มที่

ระยะ 20 วันก่อนคลอด

  • เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด คอกแห้งและสะอาด
  • เลี้ยงแยก ใหอาหารข้น 3-4 กก./วัน(อาหารข้น โปรตีน18-22%) สัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้น 50:50 เพื่อกระตุ้นการพัฒนา ของกระเพาะอาหารให้รองรับการให้อาหารข้นสูง หลังคลอด ข้อควรระวัง: ไม่เลี้ยงโคให้อ้วนมากจนเกินไป

ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องตรวจเช็คกำหนดวันโคคลอดให้ชัดเจน และพักการรีดนมตามช่วงการจัดการทั่วไปคือ

  1. ที่อยู่อาศัยในระยะ 60 วันแรก

สามารถเลี้ยงรวมกันได้ เพื่อลดภาระในการดูแล แต่เมื่อใกล้คลอดควรแยกเลี้ยง กลุ่มย่อยหรืเดี่ยว ถ้าทำได้จะทำให้การดูแลช่วยคลอดทำได้ทั่วถึง การให้อาหารในระยะนี้เน้นการให้อาหารหยาบเป็นหลัก อาหารข้นเป็นการให้เพื่อเสริมให้โคได้รับโปรตีน และพลังงานเพียงพอ

  1. การให้แร่ธาตุเสริม

ในช่วงนี้ควรเน้นอาหารแร่ธาตุเป็นพิเศษ ปัญหาที่พบบ่อย คือ การขาดแร่ธาตุในช่วงหลังคลอดเช่นเกิดโรคไข้นม (Milk fever) ,เปอร์เซ็นต์เนื้อนมต่ำ (Total solid) , ไขมันต่ำ(Fat) ดังนั้นแร่ธาตุที่ควรให้ความสำคัญคือแคลเซี่ยม/ฟอสพอรัส/ซีลีเนี่ยม ในภาคปฏิบัติแล้วผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ มักนิยมให้เป็นแร่ธาตุก้อนหรือผงและตั้งให้โคเลือกเลียกินเอง ซึ่งมักพบว่าไม่เพียงพอให้โคเลียหรือโคบางตัวไม่เลีย นำมาซึ่งการขาดแร่ธาตุ ข้อแนะนำคือผู้เลี้ยงควรผสมแร่ธาตุเข้าไปในอาหารข้นเลยโดยตรงอีก 100-200 กรัมต่อตัวต่อวัน อย่างไรก็ตามปริมาณให้กินขึ้นกับข้อกำาหนดแต่ละบริษัทด้วย พร้อมกับมีตั้งให้โคเลียกินเองอิสระเหมือนเดิม

  1. การให้ไวตามิน

ชนิดไวตามินที่ให้ควรสนใจคือไวตามินเอและไวตามินอีในแง่ผู้เลี้ยงเพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายและ การใช้ไวตามินสังเคราะห์ควรเน้นไปที่การให้พืชอาหารหยาบสดเพื่อหวังธาตุอาหารและไวตามินจากพืชสดทดแทน เช่น ถ้าเราสามารถให้หญ้าสดจำนวน 15 กก.ต่อตัวต่อวัน ปัญหาการขาดไวตามินจะลดลงหรืออย่างน้อยที่สุดควรมีการฉีดไวตามินรวมเอ ดีอี(ADE) ในระดับ 5-15 มิลลิลิตรต่อตัวต่อครั้งเป็นจำนวน 3 ครั้ง โดยกำหนดครั้งแรกให้ฉีดก่อนคลอด 10 วัน และซ้ำอีกทุก 15 วันหลังคลอดจะแก้ไขปัญหาการขาดไวตามินได้

  1. สภาพร่างกาย

โคที่สมบรูณ์ใกล้คลอดจะมีขนาดท้องใหญ่มากและลดระดับลงต่ำ น้ำหนักโคระยะนี้มากกว่า 500กก. โคใกล้คลอดจะเห็นแนวสวาปชัดเจน อวัยวะเพศจะเริ่มบวมเป่งมาก เต้านมจะขยายตึงมาก หัวนมก็ขยายตัวมาก โคบางตัวเราสามารถรีดน้ำนมตรวจได้ว่าใกล้คลอดหรือยัง ถ้ามีน้ำนมไหลแสดงว่าใกล้คลอดแล้ว ระยะนี้ควรแยกแม่โคไว้คลอดรอคลอดต่างหาก

  1. การฝึกรีดนม

โดยเฉพาะแม่โคสาวไม่เคยฝึกรีดนม ตามหลักแล้วในระยะ30 วันใกล้คลอดควรมีการนำแม่โคใหม่มาฝึกรีดนม ซึ่งทำได้โดยฝึกการเข้าซองรีด ให้คุ้นเคยกับการต้อนเข้าซอง ผู้เลี้ยงต้องปฏิบัติการสอนในช่วงนี้อย่างนุ่นนวล หลีกเลี่ยง การทุบตี,หักหาง,เตะ การให้สัญญานบางอย่างที่กำาหนดขึ้นเองเช่น การผิวปากก็เพียงพอที่จะทำให้แม่โคจำได้ว่าควรปฏิบัติอย่างไร การปฏิบัติต่อโคที่รุนแรง แม่โคจะเกรงกลัวและอั้นนมในระหว่างนี้ฝึกเพียงหัดเข้าซอง และใช้น้ำฉีดล้างทำาความสะอาดเต้านมโดยปฏิบัติเหมือนเข้ารีดนมทุกอย่างยกเว้นงดการรีดเท่านั้นเอง การฝึกที่ง่ายโดยให้ต้อนรวมเข้ากับโคเดิมที่รีดอยู่ประจำเพื่อให้คุ้นเคยและโคไม่ตื่นเต้นเกินไป