Article &Technicle
การจัดการฟาร์มสุกรในปัจจุบันไม่ได้หยุดเพียงแค่การดูแลสัตว์ให้เติบโตอย่างแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง การลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากมูลสุกรจึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ฟาร์มสุกรทั่วประเทศต้องเผชิญ และฟาร์มมั่นซื่อตรงดี จังหวัดสุพรรณบุรี ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าความร่วมมือกับเบทาโกรในการแก้ไขปัญหานี้สามารถสร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจได้อย่างแท้จริง คุณจักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มมั่นซื่อตรงดี กล่าวถึงความสำเร็จในการลดกลิ่นในฟาร์มว่า “ครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ทำให้เราภูมิใจ การลดกลิ่นในฟาร์มไม่เพียงแต่ช่วยให้ฟาร์มของเรามีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ยังสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนใกล้เคียงว่า ฟาร์มของเราดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อเปรียบเทียบกับฟาร์มอื่น ๆ เรารู้ทันทีว่าอาหารที่เราใช้นั้นเป็นผลิตภัณฑ์จากเบทาโกรอย่างแน่นอน เพราะแม้แต่ในเวลาที่ถ่ายทำอยู่ตอนนี้ เราก็ไม่ได้กลิ่นของมูลสุกรเลยครับ” ความท้าทายในการจัดการฟาร์มสุกร การจัดการฟาร์มสุกรไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฟาร์มสุกรต้องปฏิบัติตามมาตร […]
โรงเรือนเลี้ยงไก่มีจุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัย ป้องกันไก่จากสัตว์นักล่า สัตว์พาหะ กันแสงแดดและฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไก่ (สำหรับโรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนอีแวป) ดังนั้นการเตรียมโรงเรือนให้เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักสำหรับการเตรียมโรงเรือน คือ การทำความสะอาด (Cleaning) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) จุดประสงค์เพื่อให้ช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำของโรคต่างๆในฟาร์มได้ เช่น โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา(Mycoplasma) โรคไวรัสต่างๆ และโรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือนมี 6 ขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมโรงเรือน (House preparation) เป็นขั้นตอนแรกหลังจากปลดไก่ตัวสุดท้ายออกจากโรงเรือน เริ่มด้วยการกำจัดสารอินทรีย์วัตถุต่างๆ เช่น สิ่งปูรอง มูลไก่ ซากไก่ตาย เป็นต้น การถอดอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์บรรจุอาหารและอุปกรณ์ให้น้ำเพื่อนำไปล้างทำความสะอาดด้วยสารลดแรงตึงผิว(Surfactants) เช่น Nexgen MP 1000 ช่วยขจ […]
ในบทความนี้จะเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในฟาร์มลูกค้าแห่งหนึ่งในปี 2566 เพื่อเป็นกรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาในฟาร์มลูกค้า โดยจะนำเสนอตั้งแต่การสืบค้นและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา รายละเอียดขั้นตอนการแก้ไขและป้องกัน (total solution) และผลการแก้ไข ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านใช้เป็นแนวทางในการจัดการปัญหาที่มีลักษณะคล้ายกันในโอกาสต่อไป อ่านเนื้อหาสรุป แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะวิกฤต แม่สุกรป่วยก่อนคลอด แบบ Total Solution ได้ที่ https://bit.ly/3UdqAs0 ประวัติของฝูงและประสิทธิภาพการผลิต ฟาร์มสุกรแม่พันธุ์แห่งนี้เป็นโรงเรือนแบบปิด (โรงเรือนอี-แว็ป) ผลิตลูกสุกรหย่านมเพื่อจำหน่าย และบางส่วนนำไปเลี้ยงเองที่ฟาร์มสุกรอนุบาลที่อยู่คนละพื้นที่กัน ใช้น้ำบาดาลที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนเป็นน้ำกินสำหรับสุกร ฟาร์มมีประสิทธิภาพการผลิตในหลายปีที่ผ่านมาค่อนข้างดี โดยมีอัตราคลอดประมาณ 90.0-92.0 เปอร์เซนต์ ลูกมีชีวิตเฉลี่ย 12.8-13.0 ตัวต่อครอก ลูกหย่านมเฉลี่ย 12.2-12.5 ตัวต่อครอก อัตราการตายก่อนหย่านม 4-5 เปอร์เซนต์ และลูกหย่านมต่อแม่ต่อปีประมาณ 28-30 ตัว ปัญหาที่เกิดขึ้นในฟาร์มและการจัดการของฟาร์ม เมื่อว […]
ปัญหาแม่สุกรอุ้มท้องป่วยก่อนคลอด ส่งผลกระทบต่อแม่และลูกสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากแม่สุกรที่ป่วยจะกินอาหารน้อยลง ในขณะที่แม่สุกรต้องการสารอาหารจำนวนมากในการเพิ่มจำนวนเซลล์ผลิตน้ำนม เพื่อเตรียมสำหรับการสร้างนมน้ำเหลืองที่เป็นภูมิคุ้มกันต่อโรคสำหรับลูกสุกรแรกคลอด สิ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรจะสังเกตเห็นได้คือ แม่สุกรรอคลอดบางตัวป่วย นอนซึม ไม่อยากลุกขึ้นกินอาหาร เต้านมแม่สุกรไม่ขยายขนาดเท่าที่ควร มีขนาดเล็กไม่เต่งตึง หรือที่เรียกกันว่า นมไม่ลงเต้า ฟาร์มจะพบปัญหาแม่สุกรใช้เวลาคลอดนานกว่าปกติ ส่งผลให้ลูกสุกรแรกคลอดอ่อนแอและตายแรกคลอดเพิ่มมากขึ้น ลูกสุกรได้รับนมน้ำเหลืองไม่เพียงพอ ลูกอ่อนแอ ถ่ายเหลว และท้องเสียตามมา และหากมีการปนเปื้อนเชื้อในเล้าคลอดหรือในน้ำกินที่ทำให้ลูกสุกรแรกคลอดท้องเสีย เช่น อี.โคไล (colibacillosis) และคลอสทริเดียม (clostridial enteritis) จะทำให้สถานการณ์การถ่ายเหลว และท้องเสีย ของลูกสุกรรุนแรงมากขึ้น และอัตราการตายก่อนหย่านมเพิ่มมากขึ้นด้วย ในบทความนี้จะเล่าถึงรายละเอียดขั้นตอนการแก้ไขและป้องกัน แบบ Total Solution ที่อาจเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการจัดการปัญหานี้ แนวทา […]
ปัจจัยของการเกิดโรคในสุกร เกิดได้จากตัวสุกร เชื้อโรค สิ่งแวดล้อม และการจัดการ หากปัจจัยเหล่านี้มีสภาพที่เอื้อต่อกันแล้ว ปัญหาเรื่องโรคจะเกิดขึ้น เชื้อโรคที่ก่อโรคในสุกรส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส โดยมักจะพบเป็นการติดเชื้อแบบร่วมกัน (Co-infection) เช่น สุกรติดเชื้อไวรัสก่อน แล้วเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อไวรัสชนิดอื่นหรือเชื้อแบคทีเรียติดร่วมกันได้ เมื่อสุกรติดเชื้อ สุกรจะสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าสุขภาพสุกรไม่ดีอยู่แล้ว และ/หรือ สภาพแวดล้อม การจัดการภายในฟาร์มไม่ดี ก็จะเอื้อให้สุขภาพสุกรแย่ลงได้ นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อโรคก็มีผลได้ทั้งการสร้างความเสียหาย การสร้างภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการกำจัดเชื้อ (Georges et al ; 2020) โรคระบบทางเดินหายใจยังคงเป็นสาเหตุความสูญเสียอย่างมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายในสุกรอนุบาล 47.3% และในสุกรขุน 75.1% ของความเสียหายทั้งหมด (United States Department of Agriculture ; 2015) โรคระบบทางเดินหายใจส่งผลให้ผู้เลี้ยงเสียรายได้จากสุกรป่วยและตายเพิ่มขึ้น การเจริญเติบ […]
การทำฟาร์มโคนมอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการศึกษาและปฏิบัติต่อมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีคุณภาพ การปรับปรุงและการจัดการในหลายด้านมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของโคนม ข้างล่างนี้เป็นภาพรวมของขั้นตอนและแนวทางที่สำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อยกระดับการทำฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดการอาหารให้โคนม เพื่อให้ฟาร์มโคนมมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการจัดการอาหารอย่างเหมาะสม โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารและคำนวณความต้องการทางโภชนศาสตร์ของโค เพื่อวางโปรแกรมการให้อาหารข้นและอาหารหยาบ รวมถึงวางแผนการใช้และจัดเก็บอาหารอย่างเป็นระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมในฟาร์มโคนม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มโคนม ซึ่งรวมถึงการจัดการมูลสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในฟาร์ม เพื่อสร้างแผนผังฟาร์มและการจัดสร้างที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของโคนม รวมถึงการวางแผนการป้องกันและกําจัดสัตว์พาหะที่สามารถทำลายสุขภาพของโคได้ การจัดการระบบสืบพันธุ์ในฟาร์มโคนม การรักษาระบบสืบพันธุ์เป็นส่วนสำคัญในการทำฟาร์มโคนม ซึ่งรวมถึงการตรวจระบบสืบพันธุ์ […]