Knowledge ความรู้ทั่วไป

ดูทั้งหมด
โรคในระบบทางเดินหายใจที่มักพบได้ในสุกร

ปัจจัยของการเกิดโรคในสุกร เกิดได้จากตัวสุกร  เชื้อโรค  สิ่งแวดล้อม และการจัดการ หากปัจจัยเหล่านี้มีสภาพที่เอื้อต่อกันแล้ว ปัญหาเรื่องโรคจะเกิดขึ้น เชื้อโรคที่ก่อโรคในสุกรส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส   โดยมักจะพบเป็นการติดเชื้อแบบร่วมกัน (Co-infection) เช่น  สุกรติดเชื้อไวรัสก่อน  แล้วเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อไวรัสชนิดอื่นหรือเชื้อแบคทีเรียติดร่วมกันได้   เมื่อสุกรติดเชื้อ  สุกรจะสร้างภูมิคุ้มกัน แต่ถ้าสุขภาพสุกรไม่ดีอยู่แล้ว และ/หรือ สภาพแวดล้อม  การจัดการภายในฟาร์มไม่ดี  ก็จะเอื้อให้สุขภาพสุกรแย่ลงได้   นอกจากนี้ความรุนแรงของเชื้อโรคก็มีผลได้ทั้งการสร้างความเสียหาย   การสร้างภูมิคุ้มกัน และความสามารถในการกำจัดเชื้อ (Georges et al ; 2020) โรคระบบทางเดินหายใจยังคงเป็นสาเหตุความสูญเสียอย่างมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร   การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความเสียหายในสุกรอนุบาล 47.3% และในสุกรขุน 75.1% ของความเสียหายทั้งหมด (United States Department of Agriculture ; 2015)  โรคระบบทางเดินหายใจส่งผลให้ผู้เลี้ยงเสียรายได้จากสุกรป่วยและตายเพิ่มขึ้น  การเจริญเติบ […]

ยกระดับการทำฟาร์มโคนม อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำฟาร์มโคนมอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการศึกษาและปฏิบัติต่อมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีคุณภาพ การปรับปรุงและการจัดการในหลายด้านมีบทบาทสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของโคนม ข้างล่างนี้เป็นภาพรวมของขั้นตอนและแนวทางที่สำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อยกระดับการทำฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดการอาหารให้โคนม เพื่อให้ฟาร์มโคนมมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการจัดการอาหารอย่างเหมาะสม โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารและคำนวณความต้องการทางโภชนศาสตร์ของโค เพื่อวางโปรแกรมการให้อาหารข้นและอาหารหยาบ รวมถึงวางแผนการใช้และจัดเก็บอาหารอย่างเป็นระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อมในฟาร์มโคนม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มโคนม ซึ่งรวมถึงการจัดการมูลสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในฟาร์ม เพื่อสร้างแผนผังฟาร์มและการจัดสร้างที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของโคนม รวมถึงการวางแผนการป้องกันและกําจัดสัตว์พาหะที่สามารถทำลายสุขภาพของโคได้ การจัดการระบบสืบพันธุ์ในฟาร์มโคนม การรักษาระบบสืบพันธุ์เป็นส่วนสำคัญในการทำฟาร์มโคนม ซึ่งรวมถึงการตรวจระบบสืบพันธุ์ […]

9 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ (Business Model Canvas)

อยากเป็นเจ้านายตัวเอง อยากทำธุรกิจ อยากมีร้านเล็กๆ เป็นของตัวเอง จากความคิดความต้องการเหล่านี้ คุณ รู้จักและเข้าใจธุรกิจดีแล้วหรือยัง และคุณพร้อมแล้วหรือ? ที่จะลงสนามเพื่อทำสงครามแย่งชิงดินแดน  ซึ่งก็คือ “ลูกค้า” มาเป็นของคุณ ดังนั้นเพื่อให้ทุกท่านที่คิดจะ ”ลงทุน” เริ่มต้นธุรกิจหรือกำลังตัดสินใจลงสนามสงครามแย่งชิง มาคิดวิเคราะห์วางแผนธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพ อย่างคำกล่าวที่ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณวางแผนธุรกิจได้อย่างรอบด้าน นั้นก็ คือ Business Model Canvas (BMC) ที่ประกอบไปด้วย 9 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ แบบจำลองธุรกิจ หรือ Business Model Canvas (BMC) Value Propositions (คุณค่าที่บริษัทอยากส่งมอบ): # คุณค่า/จุดแข็ง ของสินค้าหรือบริการของเราคืออะไร # อะไรคือสิ่งที่เป็นคุณค่าที่อยากส่งมอบให้ลูกค้า, ทำไมลูกค้าถึงซื้อสินค้าและบริการของคุณ Customer Segment (ลูกค้า): # กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร สินค้าเราจะขายใคร # ใครคือลูกค้าของคุณ, พวกเขาคิดอย่างไร, พวกเขาเห็น ทำ และรู้สึกอย่างไร Channels (ช่องทางขาย): # เราจะสามารถจัดส่งหรือเข้าถึงลูกค้าได […]

วิธีตรวจสอบการได้รับวัคซีนเบื้องต้นในไก่

การป้องกันการระบาดของโรคภายในฟาร์มไก่ นอกจากมีแผนการป้องกันโรคตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว การให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มความต้านทานต่อโรคของไก่เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่เชื้อก่อโรคสามารถผ่านเข้ามาในฟาร์มจนเข้าไปถึงตัวไก่ได้ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สุขภาพของไก่   สภาพแวดล้อมในช่วงที่ให้วัคซีน คุณภาพวัคซีน การขนส่งวัคซีน การเก็บรักษาวัคซีน  และเทคนิคการให้วัคซีนของบุคลากร การตรวจสอบการได้รับวัคซีนมีความสำคัญ เนื่องจากช่วยลดปัญหาการให้วัคซีนล้มเหลวและใช้วิเคราะห์ประสิทธิภาพการให้วัคซีนร่วมกับการติดตามระดับภูมิคุ้มกันหลังให้วัคซีน โดยบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีตรวจสอบการได้รับวัคซีนสำหรับวิธีให้วัคซีนที่ใช้บ่อยและสามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้เองที่ฟาร์ม ได้แก่ การให้วัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปาก  ละลายน้ำ  ฉีดเข้าใต้หนังคอ ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออก และแทงปีก การตรวจสอบการได้รับวัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปากและละลายน้ำ  การให้วัคซีนโดยวิธีหยอดตา หยอดจมูก หยอดปากและละลายน้ำ ตรวจสอบโดยสังเก […]

การเตรียมกระชังในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงได้หนาแน่นและลงปลาได้หลายขนาดตามความเหมาะสม ซึ่งสะดวกในการดูแลจัดการต่างๆระหว่างการเลี้ยงได้ดี มีการลงทุนต่ำกว่าการเลี้ยงรูปแบบอื่นๆ แต่การเลี้ยงปลาในกระชังก็มีปัจจัยหลายอย่างซึ่งต้องมีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมเพื่อให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังมีประสิทธิภาพสูงสุด แหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงปลาในกระชัง แหล่งน้ำ ที่จะเลี้ยงปลาในกระชังได้นั้น สิ่งสําคัญ คือ น้ำต้องมีคุณภาพดีและมีเพียงพอ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ลําคลอง หนอง บึง บ่อ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาสําหรับการวางกระชัง ดังนี้ แหล่งน้ำ เมื่อกางกระชังออกแล้วพื้นก้นกระชังต้องอยู่สูงกว่าพื้นท้องน้ำไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร กระชังจะต้องอาศัยการถ่ายเทของกระแสน้ำหมุนเวียนผ่านกระชัง จึงควรอยู่ที่โล่งแจ้ง ไม่มีร่มไม้และพรรณไม้น้ำอยู่หนาแน่น ควรศึกษาประวัติของแหล่งน้ำในรอบปีก่อน เช่น กระแสน้ำ ความขุ่น ปริมาณน้ำ คุณสมบัติของน้ำต้องดีห่างไกลแหล่งน้ำเสีย สารพิษ เช่น จากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน แหล่งเกษตรกรรมที่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชเป็นจํานวนมากที่จะเกิดอันตรายต่อปลาที่ […]

เล้าผสมจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม

ในช่วงอากาศร้อนของบ้านเรานั้นนอกจากจะส่งผลให้สุกรขุนกินอาหารได้น้อยลงและเจริญเติบโตช้าแล้ว  ในส่วนของสุกรพันธุ์อากาศร้อนยังทำให้คุณภาพน้ำเชื้อด้อยลง  แม่สุกรเกิดความเครียดเนื่องจากอากาศร้อน  ผสมไม่ติด  กลับสัดได้ง่าย และทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์ด้อยลงร่วมด้วย เล้าผสมเป็นจุดร่วมของการผลิตสุกรพันธุ์   โดยเป็นจุดที่มีการทำงานร่วมกันระหว่าง พ่อพันธุ์  แม่พันธุ์ และคน   ในยุคหลังจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) สงบลง     การใช้พ่อพันธุ์เช็คสัดอาจถูกลดบทบาทลงไปบ้าง   แต่ก็ยังมีหลายๆ ฟาร์มที่ยังมีการใช้พ่อพันธุ์ในการเช็คสัดอย่างสม่ำเสมอซึ่งส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการผลิต การควบคุมและติดตามการทำงานในเล้าผสมอย่างสม่ำเสมอและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างรวดเร็วจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มอยู่ในภาวะที่สามารถแข่งขันได้เสมอ    อย่างที่กล่าวไปในตอนต้น เล้าผสมจะมีส่วนประกอบหลักๆ  3 ส่วนด้วยกัน คือ   พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ และคน   ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดถึงจุดต่างๆ ที่เราต้องมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นกับส่วนแรก คือ  พ่อพันธุ์   แม้ว่าจะเป็นส่วนที่น้อยที่สุด  แต่ก็มีความสำคัญในการกำหนดการผสมติดจา […]

คลิปวิดีโอ

ดูทั้งหมด

ตัวอย่างความสำเร็จของคนทำฟาร์ม

ดูทั้งหมด
เชียงใหม่เฟรชมิลค์ กับแนวคิด เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน หนึ่งในพันธมิตรทางธุรกิจกับ Betagro Agro Solution

“ เบทาโกรก็ถือเป็นคู่ค้าทางธุรกิจที่ดีที่เข้ามาช่วยเติมเต็มเชียงใหม่มิลค์ ” คุณมายด์ ผู้บริหารเชียงใหม่เฟรชมิลค์กล่าว เชียงใหม่เฟรชมิลค์เริ่มต้นธุรกิจจากการผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ โดยคุณพ่อและคุณแม่ ของคุณมายด์ ในปี พ.ศ. 2535 โดยการเข้าร่วมโครงการนมโรงเรียน และต่อมาได้ตัดสินใจที่ทำโรงงานนม UHT และฟาร์มของตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันได้ขยายเพิ่มในส่วนของการผลิตนมพาณิชย์ เนื่องจากเทรนในอนาคต ประชากรเด็กจะมีอัตราที่ลดลง จึงอยากทำตลาดนมพาณิชย์มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ของเชียงใหม่เฟรชมิลค์ในปัจจุบัน มีตั้งแต่นมพาสเจอร์ไรส์แบบขวดแก้ว และนม UHT ในนามแบรนด์เชียงใหม่เฟรชมิลค์ ปัจจุบันเชียงใหม่เฟรชมิลค์มีคอนแท็กต์ฟาร์มมิ่งอยู่ประมาณ 180 ราย และยังมีฟาร์มของเราเองอยู่ที่ อ.บ้านโฮ่ง จ. ลำพูน ที่ผ่านมาช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 คุณมายด์ได้เล่าว่า ได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย แต่ที่สำคัญกลับมีผลกระทบในเชิงบวก ที่สามารถขยายฐานลูกค้าได้ ในช่วงที่อาหารสัตว์ขาดตลาด เบทาโกรได้เข้าไปพูดคุย แนะนำ และส่งตัวอย่างการทดลองให้ใช้ในฟาร์ม รวมไปถึงเข้าไปดูแลเรื่องมาตรฐาน ISO การบริหารจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ จนกระทั่งได้มีการพัฒนาสู […]

ฟาร์มสุกร มั่นซื่อตรงดี “เติบโตอย่างมั่นคง” จากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Betagro Agro Solution

คุณ จักราวุธ มั่นซื่อตรงดี เจ้าของฟาร์มสุกรมั่นซื่อตรงดี  กล่าวว่า “เบทาโกรไม่ได้ขายสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่ขายความสำเร็จด้วย เพียงแต่ว่าเราจะนำความสำเร็จนั้นมาทำกำไรกับฟาร์มของเราได้อย่างไร” คุณจักรวุธ เริ่มต้นธุรกิจเลี้ยงสุกรในช่วงที่ยังเรียนอยู่มัธยม และคุณพ่อได้เสียชีวิต จากนั้นได้ออกจากชั้นมัธยม 3 และได้มาทำฟาร์มสุกรอยู่กับคุณแม่ ในอดีตได้ทำฟาร์มสุกรเองเล็กๆ โดยซื้อวัตถุดิบรำข้าว ปลายข้าว มันสําปะหลัง มาผสมเอง ทดลองอยู่ประมาณ 2-3 ปี ผลปรากฏว่าทำยังไงก็รู้สึกว่าสู้อาหารสำเร็จไม่ได้ หลังจากนั้น เบทาโกรก็ได้เข้ามาเสนอขายอาหาร นำเสนอเรื่องของวิธีการเลี้ยงสุกรให้ ซึ่งก็เรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากนั้นก็ได้เริ่มจากทำฟาร์มแม่พันธุ์ให้เบทาโกรเช่าทั้งหมด 3 ฟาร์ม ฟาร์มละ 5,000 ตัว รวมทั้งหมด 15,000 ตัว มาขุนและขายคืนให้กับเบทาโกร ในโครงการ Pig Farm Partnership และประสบความสำเร็จมาตลอด ปัจจุบันเราก็ได้ทำธุรกิจฟาร์มสุกรส่วนตัว ซึ่งทำหมูขุนทั้งหมด คุณจักราวุธ ยังได้กล่าวอีกว่า “สูตรความสำเร็จในการทำฟาร์มของผมคือการรู้ปัญหาและรู้จริง รู้ตัวเลขตัวเอง รู้สภาพตัวเอง ตามปัญหาให้ไว ระบบในฟาร์มคือต้องทำ […]

จรรยวรรธน์ ฟาร์มปลาสลิด กับความสำเร็จที่ยั่งยืน จากการเป็นพันธมิตร ทางธุรกิจกับ Betagro Agro Solution

คุณ วันเพ็ญ ทิพย์สัน จากจรรยวรรธน์ ฟาร์มปลาสลิด และเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารเบทาโกรจังหวัดราชบุรี คุณวัญเพ็ญได้เล่าให้เราฟังว่า “พูดได้เลยว่าเบทาโกรคือส่วนหนึ่งของครอบครัวพวกเรา” ค่อยส่งสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ทำให้ธุรกิจของคุณวัญเพ็ญค่อย ๆ เติบโตและยั่งยืน ก่อนจะมาเลี้ยงปลาสลิดคุณวัญเพ็ญเลี้ยงกุ้งก้ามกรามมาก่อน แต่ก็ประสบปัญหาภาวะขาดทุนจึงมาเลี้ยงปลาสลิด เดิมคุณวัญเพ็ญเลี้ยงปลาสลิดด้วยอาหารเม็ดจม จนมาระยะหนึ่งได้มารู้จักกับทีมงานของเบทาโกร ที่เข้ามาแนะนำอาหารเม็ดลอย ซึ่งช่วงนั้นอาหารเม็ดลอยเป็นอะไรที่ใหม่มาก ทำให้ต้องคิดทบทวนอยู่นานเหมือนกัน เพราะว่าต้นทุนในการเลี้ยงปลาสลิดอยู่ที่การใช้อาหารถึง 90% เพราะฉะนั้นการจะตัดสินใจใช้อะไรจะต้องคิดเยอะๆ แต่ด้วยปัญหาปลาไม่โต คุณวัญเพ็ญจึงตัดสินใจตัดสินใจทดลองใช้อาหารเม็ดลอย แล้วพบว่าได้ผลกำไรเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้ก็ประมาณ 15 ปีแล้ว ที่คุณวัญเพ็ญใช้อาหารปลาสลิดเม็ดลอยของเบทาโกร จากที่เราเลี้ยงจำนวนน้อย ๆ จึงปรับมาเลี้ยงในจำนวนมากขึ้น ทีมงานเบทาโกรก็เข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มระบบเลย โดยมาตรวจเช็คน้ำให้เราทุกเดือน หากประสบปะญหาเกี่ยวกับโรคข […]

วิธีการดูแลไก่ไข่ ให้สุขภาพดี ไข่ดก

จุดเริ่มต้นของฟาร์มไก่ไข่ คือเดิมประกอบธุรกิจรับเจาะน้ำบาดาล ต่อมาญาติได้ชักชวนให้มาทำฟาร์มไก่ไข่ โดยได้รับซื้อฟาร์มต่อจากญาติ โดยเริ่มแรกคุณพ่อจะเป็นคนบริหารจัดการฟาร์ม และภายหลังมาได้ให้เรา ซึ่งเป็นลูกชายเป็นผู้ดูแลและบริหารกิจการฟาร์มไก่ไข่เอง  วิธีการดำเนินธุรกิจ อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ มีการจัดการอย่างไร สิ่งที่ให้ความสำคัญ คือเรื่องการบริหารจัดการฟาร์ม โดยเน้นในเรื่องการดูแลสุขภาพของไก่ไข่ ตั้งแต่รับไก่เข้าฟาร์ม ตลอดจนระบบการเลี้ยง ตั้งแต่การให้อาหาร ให้น้ำ รวมถึงการคัดสรร เวชภัณฑ์และสารเสริมที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาใช้กับไก่ไข่ และเฝ้าสังเกตุสุขภาพของไก่ที่เลี้ยงไว้ในฟาร์ม เพื่อให้ได้ไข่มีมีคุณภาพตามความต้องการ  เหตุผลที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และ บริการของเครือเบทาโกร มีความแตกต่างจากแบรนด์ทั่วไปตามท้องตลาดอย่างไร ฟาร์มของเราใช้ อาหารสัตว์เบทาโกร และ วิตามิน เอเด็ค เอ็ม และ ไบโอไลท์ จากเบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า เหตุผลเพราะว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ด้านคุณภาพ ได้มาตรฐาน ตรวจสอบได้ มีฉลากและข้อบ่งใช้ที่ละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด ฟาร์มของเราใช้อาหารสำหรับไก่ไข่แบรนด์เบทาโกรมาโดยตลอด ซึ่งคุณภาพของ […]

โคขุนไทย-วากิว ดีกว่าจริงหรือ

กัปตันฟาร์ม โคขุนไทย-วากิว เป็นฟาร์มโคขุนที่แรกใน จ.สุรินทร์ ที่ได้ทดลองเลี้ยงโคขุน สายพันธุ์ไทย-วากิว และ เลี้ยงเปรียบเทียบระหว่างโคขุนสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เลี้ยง (สายพันธุ์ ชาโลเล่) ก็ได้ผลลัพของเนื้อโคขุนที่ดีกว่า คือ เกรดไขมันแทรกดี เนื้อมีลักษณะนุ่มลิ้น และได้กำไรจากการขายเนื้อสายพันธุ์โคขุนไทย-วากิวมากขึ้นกว่าการเลี้ยงสายพันธุ์เดิม ยังรวมถึงการเลือกใช้อาหารที่มีคุณค่าทางอาหาร มีวัตถุดิบที่มีคุณภาพอย่างอาหารโคขุนของแบรนด์เบทาโกรอีกด้วย ทางเบทาโกรส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงโค เข้ามาดูแลสุขภาพโค วิธีการให้อาหารตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับช่วงอายุของโคขุน ทำให้อาหารที่เราใช้ตอบโจทย์การเจริญเติบโตของโคภายในฟาร์มของเรามาก มีการแนะนำการใช้ยาเมื่อโคเริ่มมีอาการป่วย ซึ่งเวชภัณฑ์ยาที่ฟาร์มของเราเลือกใช้ก็เป็นของ บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า ซึ่งเป็นของเครือเบทาโกรเช่นกัน เพราะเป็นยาที่ได้มาตรฐาน ทำให้ใช้แล้วได้ผลดีกับโคขุนในฟาร์มของเรา และยังมีตัวแทนจำหน่ายทั้งอาหารสัตว์และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ ที่เราสามารถหาซื้อได้ง่าย และ สามารถให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่เราได้เป็นอย่างดี คือ ร้านสุรินทร์ยาสัตว์ของ […]

สารเสริมเลือกอย่างไร ให้ไก่ไข่มีไข่คุณภาพดีอร่อยถูกใจ

สารเสริมเลือกอย่างไร ให้ไก่ไข่ มีไข่คุณภาพดี อร่อยถูกใจ โดย อภิชาติฟาร์มไข่ไก่ 999 อภิชาติฟาร์มไข่ไก่ ก่อตั้งเมื่อปี 2529 เริ่มเลี้ยงไก่จาก 2,500 ตัว ปัจจุบันมีประมาณ 100,000 กว่าตัว การจำหน่าย เราก็มีตลาดของเราเอง ประมาณ 5 สาขา และก็มีในส่วนของบริษัทเอกชน อาทิ บริษัทผลิตอาหารญี่ปุ่น, มาร์เก็ต ประมาณ 30 กว่าแห่ง และโรงแรมในเขตพัทยาอีกกว่า 60 โรงแรม ที่รับไข่ของอภิชาติฟาร์มไป ฟาร์มเลือกใช้สินค้าและบริการของเครือเบทาโกรเพราะ ตอบโจทย์ด้านคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ของผลิตภัณฑ์ มีวิธีใช้ตามฉลากที่ชัดเจน ที่ได้มาตรฐาน ตามข้อกำหนดของกฏหมายเมื่อเรานำมาใช้ก็ทำให้สุขภาพของแม่ไก่แข็งแรง ไข่ดก ระยะไข่พีคยาวนานขึ้น ช่วยให้สีไข่แดงมีสีแดงขึ้น และเปลือกไข่ไม่แตกง่าย ตรงตามมาตรฐานที่เราตั้งไว้ การบริการทางด้านวิชาการ การจัดการฟาร์ม สูตรอาหาร โดยที่จะมีทีมฝ่ายขาย สัตว์แพทย์ แนะนำดี คือให้คำแนะนำเราตลอด เรามีปัญหาเราโทรไป มีการตอบรับที่รวดเร็วมาก ว่าเราควรทำอย่างไร และถ้าหากเรายังจัดการไม่ได้ เค้าก็จะส่งทีมสัตวแพทย์เข้ามาหารเราเลย คือเราไม่ต้องรอนาน โทรเช้าได้เย็นเลย มันเลิศมาก The Best สุดท้ายนี้การทำฟาร์ […]

แนวทางป้องกันและควบคุมโรค

ดูทั้งหมด
ยาฉีดใช้อย่างไร ให้ปลอดภัยคุ้มทุน

การเข้ามาแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกา ใน สุกร อาจทำให้เราให้ความสำคัญกับเรื่องบางเรื่องน้อยลง เช่น  การรักษาสุกรป่วย และการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่หรือในฟาร์มของเราเอง  เพราะความเชื่อในเรื่องของการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าวทางเข็มฉีดยา   อย่างไรก็ดี เราสามารถลดความเสี่ยงเรื่องดังกล่าวและใช้ยาฉีดเพื่อการรักษาสุกรป่วยโดยการใช้เข็มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในสุกรพันธุ์ หรือ ทำเครื่องหมายบนตัวสัตว์ที่มีการใช้เข็มร่วมกัน หรือการคัดแยกสุกรป่วยออกมารักษายังคอกป่วย อย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าการบริหารยาสำหรับสุกรนั้นมีได้หลากหลายวิธี เช่น การให้ยาผสมอาหาร  ยาละลายน้ำ และยาฉีด  ทำให้หลายคนเลือกนำวิธีดังกล่าวมาใช้  แต่ก็คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการใช้ยาฉีดเพื่อรักษาสุกรเป็นรายตัวเช่น  สุกรแม่พันธุ์  นั้นให้ผลตอบสนองต่อการรักษาที่ดี  และยังช่วยให้ลูกสุกร มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปลงเลี้ยงต่อไป ยาฉีดที่ใช้ในฟาร์มสุกร มีการให้ได้หลายวิธี  กรณีที่หวังผลให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายมักให้โดยการฉีด เข้าหลอดเลือดดำ (intravenous injection) การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular injection) […]

10 สัญญาณอันตราย ที่จะทำให้การเลี้ยงสัตว์น้ำเกิดความสูญเสีย

เกษตรเลี้ยงปลาแบบมืออาชีพ ควรสังเกตอาการของปลาและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในบ่อ เพื่อจับสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเริ่มเกิดปัญหาขึ้นกับการเลี้ยงแล้ว และวางแผนจัดการแก้ไข อย่ารอจนเกิดปัญหาบานปลาย ปลาตายมาก ป่วยหนัก เพราะหากจัดการปัญหาล่าช้า กว่าจะรู้ แก้ปัญหาได้ ผลผลิตบางส่วนอาจเสียหายหรือทำให้ค่าประสิทธิภาพการผลิตตกต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นเราควรเรียนรู้เพื่อสังเกตสัญญาณอัตรายกันว่ามีสิ่งใดบ้าง และต้องป้องกัน/แก้ไขอย่างไรให้ทันก่อนสายเกินไป ปลาขาดอากาศ ลอยหัวตอนเช้ามืด ปลาลอยหัวหุบอากาศ ในตอนบ่าย สีน้ำเขียวเข้ม สีน้ำตาล มีซากแพลงก์ตอนตายลอยที่ผิวน้ำมาก สัตว์น้ำกินอาหารลดลงผิดปกติ น้ำมีค่าความเป็นด่างสูงมากๆ (pH สูงจัด) พบปลาตายพร้อมกันจำนวนมาก น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีดำ มีกลิ่นเหม็น น้ำมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ปลาตายเมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเกิน 32 องศา น้ำมีปริมาณไนไตรท์เป็นพิษ 1.ปลาขาดอากาศ ลอยหัวตอนเช้ามืด มักพบปลาลอยหุบอากาศที่ผิวน้ำจำนวนมาก หรือพบปลารวมกันมากบริเวณทางน้ำเข้าบ่อ แสดงว่าคุณภาพน้ำมีค่าออกซิเจนอยู่ในระดับที่ต่ำ สาเหตุ ระดับออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่ในระดับต่ำ 0-1ppm\ ปริมาณ […]

ความสำคัญของการพัฒนากระเพาะรูเมน และการหย่านม

การพัฒนาของกระเพาะรูเมน (Rumen) ในลูกโคก่อนหย่านมนั้นเริ่มต้นด้วยการได้รับอาหารข้นแรกเริ่ม (Starter) ที่ดีรวมทั้งการได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารที่จะช่วยย่อยทำให้เกิดการผลิตของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพาพิล่าร์ (Papillae) ที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหารในกระเพาะรูเมน (Rumen) โดยเฉพาะกลุ่มของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) คือ อะซิเตต (Acetate) โพรพิโอเนต (Propionate) บิวทิเรต (Butyrate) โดยที่โพรพิโอเนต (Propionate) บิวทิเรต (Butyrate) ได้รับจากการหมักย่อยแป้งและน้ำตาล ส่วนอะซิเตต (Acetate) ได้จากการหมักย่อยของเยื่อใย (Fiber) หรือ เซลลูโลส ซึ่งกลุ่มของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นต่อพาพิล่าร์ (Papillae) ให้เกิดการพัฒนาหน้าที่ในการดูดซึมภายในกระเพาะรูเมน (Rumen) โดยเกิดจากการกระตุ้นจาก บิวทิเรต (Butyrate) โพรพิโอเนต (Propionate) อะซิเตต (Acetate) จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ฉะนั้นการหมักย่อยของคาร์โบไฮเดรตจึงเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในกระเพาะและการพัฒนาข […]

การบริหารจัดการวัคซีนละลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับไก่

การให้วัคซีนโดยวิธีการละลายน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการให้วัคซีน เนื่องจากไม่ต้องจับตัวไก่จึงทำให้ไก่เกิดความเครียดจากการให้วัคซีนน้อย ลดการใช้แรงงานคน อีกทั้งวัคซีนที่ให้โดยวิธีการละลายน้ำทั้งหมดเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ดังนั้นแม้วิธีการให้วัคซีนจะง่ายแต่ก็มีหลาย ๆ รายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การให้วัคซีนโดยวิธีการละลายน้ำแต่ละครั้งนั้นมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บวัคซีน การขนส่งวัคซีนไปใช้งาน คุณภาพน้ำที่นำมาใช้ในการละลายวัคซีน วิธีการให้วัคซีนแบบละลายน้ำ การเตรียมอุปกรณ์ให้น้ำ การกระตุ้นให้ไก่กินวัคซีน การตรวจสอบการได้รับวัคซีน การจัดเก็บวัคซีน เนื่องจากวัคซีนเชื้อเป็นคือเชื้อที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลงและมีความไวต่อสภาพแวดล้อมภายนอกมาก ดังนั้นจึงต้องคำนึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ อุณหภูมิจัดเก็บ : เก็บรักษาวัคซีนตามที่ผู้ผลิตวัคซีนแนะนำ ซึ่งปกติจะจัดเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 – 8OC ไม่เก็บวัคซีนในช่องแช่แข็ง ตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนควรแยกออกต่างหากโดยไม่ใช้ร่วมกันกับการเก็บอาหารและเครื่องดื่มเพราะจะเป็นเหตุให้มีการเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ อันจะทำให้อุณหภูมิในการจัดเก็บไม่คงที […]

การจัดการดูแลไก่เนื้อช่วง 7 วันแรก

การจัดการดูแลไก่เนื้อช่วงสัปดาห์แรกเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มในร่างกาย เพื่อให้ไก่เนื้อเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะต้องมีการจัดการที่เหมาะสมในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ 1.การเตรียมโรงเรือน สำหรับวงรอบการผลิตใหม่ เมื่อจับไก่ออกหมดฟาร์ม ผู้เลี้ยงจะล้าง ทำความสะอาด และพ่นฆ่าเชื้อโรงเรือนและอุปกรณ์ ต่างๆเช่น ถาดอาหาร อุปกรณ์ให้น้ำ ฝ้า เพดาน ม่าน หลังจากเสร็จเรียบร้อยฟาร์มควรพักโรงเรือน อย่างน้อย 14 วัน  เพื่อตัดวงจรการติดต่อของโรคบางชนิด ก่อนลงไก่ในรุ่นถัดไป 2.วันแรกที่ไก่มาถึงฟาร์ม ควรสุ่มชั่งน้ำหนัก 1-2 % ของฝูง และตรวจสอบคุณภาพลูกไก่ด้วยการสังเกตลักษณะภายนอก ลูกไก่ที่มีคุณภาพดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ ขนแห้งฟู นัยน์ตากลมสดใส สดใสตื่นตัวตลอดเวลา สะดือแห้งปิดสนิท ขาและแข้งสีสดใสเป็นมันวาว ขาและเข่าไม่มีลักษณะแดงช้ำ จะต้องไม่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ขาโก่งบิดงอ คอบิดและจะงอยปากบิดไขว้ เป็นต้น 3.การรับลูกไก่ และการจัดการช่วงกกไก่ อุณหภูมิ เตรียมอุณหภูมิโรงเรือนและวัสดุรองพื้นให้เหมาะสม เนื่องจากลูก […]

3 หลักการความปลอดทางชีวภาพ เพื่อฟาร์มสัตว์ปีกคุณภาพ

3 หลักการความปลอดทางชีวภาพ เพื่อฟาร์มสัตว์ปีกคุณภาพ ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) คือระบบการจัดการและมาตรการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้าและออกจากฟาร์มรวมไปถึงลดการกระจายของเชื้อโรคภายในฟาร์มด้วย โดยมีหลักการ 3 ข้อดังนี้ การแยกสัตว์ (Isolation) คือ การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อม เช่น ที่ตั้งฟาร์มควรอยู่ห่างจากโรงชำแหละสัตว์ปีกหรือตลาดค้าสัตว์ปีกอย่างเหมาะสม มีรั้วสำหรับป้องกันสัตว์ มีการเลี้ยงที่แยกกลุ่มสัตว์ที่มีอายุต่างกัน มีการนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงและนำออกพร้อมกันหมด (all-in/all-out) เพื่อให้มีเวลาในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เป็นการตัดวงจรของเชื้อที่จะก่อโรค เป็นต้น การควบคุมการสัญจร (Traffic control) คือ การกำหนดและควบคุมการสัญจรภายในฟาร์มทั้งรถและคน รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แบ่งเขตเลี้ยงสัตว์-ไม่เลี้ยงสัตว์ชัดเจน การจำกัดบุคคลเข้าออก กำหนดเส้นทางเดินของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มให้เหมาะสม เป็นต้น สุขอนามัย (Sanitation) คือ การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ โรงเรือน บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ ที่จะเข้ามาในฟาร์มและออกนอกฟาร์ม ลักษณะเฉพา […]