สิงหาคม 31, 2021

การจัดการฟาร์มปลาเมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าฝน

Knowledge ความรู้ทั่วไป

ในช่วงฤดูฝนของทุกปี ฝนตกน้ำแดง น้ำป่าไหลหลาก มักทำให้ปลากระชังและปลาในบ่อเลี้ยงเสียหาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน มีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำหลายอย่าง  ที่สำคัญปลาซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิในร่างกายปลา สามารถปรับตัวเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของแหล่งน้ำได้ แต่การปรับตัวฉับพลันต้องใช้พลังงานสูง ทำให้ปลาเครียดจัด  อ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง จึงติดเชื้อโรคได้ง่าย

สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงมากในฤดูฝน เช่น

  1. น้ำฝนทำให้ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่างและความขุ่นของน้ำเปลี่ยนแปลง / ผลคือปลาเครียด ภูมิต้านทานโรคลดลง
  2. นํ้าในบ่อมีการแบ่งชั้นของอุณหภูมิ น้ำฝนทำให้อุณหภูมิผิวน้ำลดลง  จึงหมุนแทนที่น้ำก้นบ่อที่อุณหภูมิสูงกว่า / ทำให้น้ำก้นบ่อที่ออกซิเจนต่ำ มีแก็ซพิษสูงกระจายไปทั่วบ่อ
  3. วันที่ฟ้าปิดยาวนาน กระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างออกซิเจนลดลง
  4. น้ำฝนที่ไหลชะล้างตะกอนหน้าดิน สารอินทรีย์ สารเคมี ทำให้คุณภาพแย่ลง
กระบวนการต่าง ๆ ที่เกินขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาช่วงวฤดูฝน

กระบวนการต่าง ๆ ที่เกินขึ้นในบ่อเลี้ยงปลาช่วงวฤดูฝน cr.AQUADAPT-Thailand

เชื้อโรคที่เกิดช่วงหน้าฝน มักเป็นเชื้อโรคที่ฉวยโอกาส ในขณะที่ปลาอ่อนแอ

  1. โรค Aeromonas / เกล็ดหลุด เกล็ดแดง  เกล็ดตั้ง  ตกเลือด  แผลหลุม ครีบกร่อน  ท้องบวม ตับม้ามไต ลำไส้อักเสบ มีน้ำเหลืองในช่องท้อง  กินอาหารลด  / ผสมยาปฏิชีวนะในอาหาร
  2. โรค Flavobacterium หรือ โรคตัวด่าง / พบช่วงรอยต่อฤดู อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อย / เนื้อเหงือกเน่า หายใจถี่ ว่ายผิวน้ำ คล้ายออกซิเจนไม่พอ ครีบกร่อน / ให้งดอาหาร งดถ่ายน้ำ / ด่างทับทิม, ฟอมาลิน, คอปเปอร์ซัลเฟต, BKC  / ยาเอ็นโรฟรอกซาซิน
  3. โรคปรสิตภายนอก / เห็บระฆัง ปลิงใส เห็บปลา หมัดปลา / ว่ายน้ำแฉลบ ถูกับวัสดุ ว่ายไร้ทิศทาง เหงือกบวม-ซีด-แตก-เมือกมาก / ด่างทับทิม, ฟอมาลิน, คอปเปอร์ซัลเฟต, BKC ,ไตรคลอร์ฟอน / ยาถ่ายพยาธิ

เพื่อลดความเสียหายในช่วงฤดูฝน ต้องเตรียมการป้องกัน ดังนี้

  1. ควรเปิดเครื่องให้อากาศ / เพิ่มการไหลเวียนน้ำ / เพื่อสร้างออกซิเจนและลดการแบ่งชั้นของน้ำ
  2. ควรลดหรืองดอาหาร 1-2 วัน / ในวันที่ฝนตกหนัก ฟ้าครึ้มต่อเนื่อง / ออกซิเจนต่ำย่อยยาก
  3. ควรโรยปูนขาวที่คันบ่อ / น้ำตกตะกอนเร็ว ลดการเปลี่ยนแปลง pH จากน้ำฝน
  4. ควรสาดปูนขาว เวลากลางคืน / ตอนเช้ามืด 30-40 กก./ไร่ / เพิ่มอัลคาไลน์ ทำให้น้ำโปร่งแสง
  5. ควรใส่เกลือ 60-100 กก.ต่อไร่ / แขวนในกระชัง / ลดแอมโมเนีย ไนไตรท์ /ปรับสมดุลย์เกลือแร่
  6. ควรปล่อยปลาอัตราเหมาะสม / ตอนเช้า ฝนไม่ตก / ปรับสภาพน้ำ /ใช้ยาสลบปลา –สงบ-ไม่ดิ้น-ไม่ช้ำ-ไม่เครียด
  7. ควรเสริมไวตามินซี ในอาหาร / เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมความแข็งแรง
การจัดการฟาร์มปลาเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน เป็นการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และลดความเสียหายจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูฝน ช่วยลดการใช้ยาสารเคมี และลดต้นทุนการผลิตได้