กรกฎาคม 3, 2024

การเตรียมโรงเรือนและการควบคุมสัตว์พาหะในฟาร์มไก่

Knowledge ความรู้ทั่วไป

โรงเรือนเลี้ยงไก่มีจุดประสงค์ใช้เพื่อเป็นแหล่งที่พักอาศัย ป้องกันไก่จากสัตว์นักล่า สัตว์พาหะ กันแสงแดดและฝน ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงไก่ (สำหรับโรงเรือนระบบปิดหรือโรงเรือนอีแวป) ดังนั้นการเตรียมโรงเรือนให้เหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นเลี้ยงไก่ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนหลักสำหรับการเตรียมโรงเรือน คือ การทำความสะอาด (Cleaning) และการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) จุดประสงค์เพื่อให้ช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำของโรคต่างๆในฟาร์มได้ เช่น โรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา(Mycoplasma) โรคไวรัสต่างๆ และโรคซัลโมเนลโลซิส (Salmonellosis)

ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือนมี 6 ขั้นตอนสำคัญดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมโรงเรือน (House preparation)

เป็นขั้นตอนแรกหลังจากปลดไก่ตัวสุดท้ายออกจากโรงเรือน เริ่มด้วยการกำจัดสารอินทรีย์วัตถุต่างๆ เช่น สิ่งปูรอง มูลไก่ ซากไก่ตาย เป็นต้น การถอดอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น หลอดไฟ อุปกรณ์บรรจุอาหารและอุปกรณ์ให้น้ำเพื่อนำไปล้างทำความสะอาดด้วยสารลดแรงตึงผิว(Surfactants) เช่น Nexgen MP 1000 ช่วยขจัดคราบไขมันและคราบโปรตีนฝังแน่นที่ไม่สามารถล้างด้วยน้ำเปล่าได้

2. การทำความสะอาดแบบแห้ง (Dry cleaning)

การปัดกวาดหรือเครื่องเป่าลมในการกำจัดเศษฝุ่น หยากไย่ตามฝ้าเพดาน ผนัง พื้นโรงเรือน จุดอับต่างๆในโรงเรือนและพัดลมระบายอากาศ รวมถึงเศษมูลไก่ที่แห้งติดกรงหรือพื้นคอก เศษอาหารคงค้างในรางอาหารหรือที่ตกหล่นตามพื้นโรงเรือน

3. การทำความสะอาดแบบเปียก (Wet cleaning)

การทำความสะอาดด้วยน้ำและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อกำจัดคราบ เช่น คราบเลือด คราบไขมันจากอาหารหรือซากสัตว์ สารลดแรงตึงผิวกลุ่ม linear alkyl benzene sulfonate (LAS) และ sodium lauryl ether sulfate (SLES) ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ Nexgen foam 1000 ถ้าคราบสกปรกมีลักษณะฝังแน่นควรใช้สารที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์(sodium hydroxide) หรือ โซดาไฟ ที่มีในผลิตภัณฑ์ Nexgen foam 101 สามารถใช้งานในรูปแบบฉีดพ่นเป็นโฟมเพื่อเพิ่มเวลายึดเกาะพื้นผิวได้นานขึ้นก่อนจะล้างออกด้วยน้ำเปล่า ส่วนท่อน้ำดื่มที่ไม่สามารถถอดประกอบได้สามารถใช้กรดเปอร์อะซิติก ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ และกรดอะซิติก มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ Nexgen San 405 ในการแช่ล้างเพื่อขจัดคราบไบโอฟิล์มที่เกาะแน่นอยู่ภายในท่อน้ำ ขั้นตอนการทำความสะอาดแบบเปียกมีขั้นตอนดังนี้

    • การแช่หรือทำให้เปียกชุ่ม( Soaking ) คือ การแช่ด้วยน้ำหรือน้ำแรงดันต่ำให้คราบสกปรกอ่อนนุ่มจนสามารถขัดคราบสกปรกได้ง่าย
    • การล้าง( Washing ) คือ การใช้น้ำฉีดล้างร่วมกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นอกจากนี้การใช้เครื่องปั๊มน้ำแรงดันสูง หรือ น้ำที่มีอุณหภูมิสูงจะสามารถขจัดคราบได้ดียิ่งขึ้น
    • การล้างคราบสกปรก( Rinsing ) คือ การล้างคราบสกปรกออกให้หมดหลังจากการขัดล้าง
    • การทำให้แห้ง( Drying ) คือ เป็นกระบวนการง่ายแต่มีความสำคัญ สามารถใช้พัดลมช่วยทำให้โรงเรือนแห้งเร็วขึ้น

4. การซ่อมแซมอุปกรณ์และปรับปรุงโรงเรือน (Repairs)

อุปกรณ์ต่างๆที่ชำรุด หรือโรงเรือนที่ทรุดโทรมควรได้รับการซ่อมแซมและปรับปรุงให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงไก่ในรุ่นถัดไป โดยสามารถหาอุปกรณ์ฟาร์มและเครื่องมือในการเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมได้จาก บริษัท บี.อินเตอร์เนชั่นแนล แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด

5. การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection)

การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อกำจัดเชื้อโรคที่หลงเหลือหรือหลบซ่อนอยู่ในโรงเรือน ด้วยวิธีการสเปร์ย( sprays ) หรือพ่นหมอกควัน( fumigation ) ให้ทั่วพื้นที่ผิวของโรงเรือน อุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือน กรงไก่ รวมถึงพื้นที่โดยรอบโรงเรือนด้วย ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของสารเคมีในกลุ่ม กลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde ), เบนซาโคเนียม คลอไรด์( Benzalkonium Chloride ) เช่น ผลิตภัณฑ์ Betashield และ Beta Q ใช้อัตราส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อ 1 ลิตรต่อน้ำ 100-200 ลิตร ได้สารละลายแล้วฉีดพ่นสารละลาย 1 ลิตรต่อพื้นที่ 3-4 ตารางเมตร เพื่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อที่สูงสุด สำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดสามารถเก็บตัวอย่างจากฟาร์มส่งตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เบทาโกร ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการทดสอบและตรวจวิเคราะห์แบบครบวงจรสำหรับวงการปศุสัตว์ได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับสากล ISO/IEC 17025 สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

6. การพักโรงเรือน (Downtime period)

การปิดโรงเรือนหลังพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อเสร็จสิ้น ระยะเวลาพักโรงเรือนต้องไม่น้อยกว่า 14 วัน

การควบคุมสัตว์พาหะในฟาร์มไก่

การจัดการควบคุมสัตว์พาหะแบบบูรณาการ (Integrated Pest Management; IPM)

หลังการเตรียมโรงเรือนการควบคุมสัตว์พาหะไม่ให้นำโรคกลับเข้าไปสู่ไก่ในโรงเรือนหรือปนเปื้อนอาหารไก่ อุปกรณ์และสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพควบคู่ไปกับการจัดการการเลี้ยงที่เหมาะสมเพื่อให้ไก่สุขภาพแข็งแรงและมีประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดี การจัดการควบคุมสัตว์พาหะแบบบูรณาการ (Integrated Pest Management; IPM) เป็นการใช้องค์ความรู้ที่ครอบคลุมเพื่อลดปัญหาสัตว์พาหะ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ระบุสัตว์พาหะ รู้จักชีววิทยา พฤติกรรม วงจรชีวิตของสัตว์พาหะที่ก่อปัญหาในฟาร์ม
  2. ตั้งเป้าหมาย กำหนดระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสัตว์พาหะ
  3. เลือกวิธีการที่เหมาะสม สำหรับใช้ควบคุมสัตว์พาหะ
  4. ติดตามจำนวน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมสัตว์พาหะและเป็นฐานข้อมูลของฟาร์ม

การรักษาความสะอาดของพื้นที่ต่างๆในฟาร์ม

โดยการควบคุมสัตว์พาหะเริ่มต้นจากการมีสุขาภิบาลฟาร์มที่ดี รักษาความสะอาดของพื้นที่ต่างๆในฟาร์ม ได้แก่

  1. โรงเรือนและบริเวณโดยรอบโรงเรือน ต้องมีการซ่อมแซม ตรวจสอบไม่ให้มีช่องทางที่สัตว์พาหะใช้ผ่านเข้าโรงเรือนได้โดยตรง มีการกำจัดวัชพืชโดยรอบไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนสัตว์พาหะ
  2. เศษอาหารไก่หกภายนอกโรงเรือน ต้องทำความสะอาดเก็บทิ้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นจุดดึงดูดสัตว์พาหะ
  3. ซากไก่ตาย ต้องทิ้งในภาชนะปิด ก่อนนำไปกำจัดโดยเผาทำลายหรือฝังในพื้นที่ที่มีการป้องกันไม่ให้สัตว์พาหะมากินหรือสัมผัสเสี่ยงต่อการนำโรคจากไก่ตายไปสู่ไก่ในโรงเรือนได้
  4. สำนักงานฟาร์ม บ้านพักพนักงาน และอาคารต่างๆ ต้องดูแลความสะอาด กำจัดเศษอาหารและขยะอย่างเหมาะสมไม่ให้เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะ

การใช้สารเคมีในการควบคุมสัตว์พาหะ

นอกจากนี้การใช้สารเคมีกำจัดสัตว์พาหะร่วมกับการดูแลสุขาภิบาลในฟาร์มที่กล่าวไปข้างต้น จะช่วยให้การควบคุมสัตว์พาหะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

  1. หนอนแมลงวัน ใช้สารเคมี Baycidal WP 250 (Triflumuron : ไตรฟลูมูรอน), Neporex SP 50 (Cyromazine :ไซโรมาซีน) ฉีดพ่นกองมูลไก่ วัสดุรองพื้นมักพบหนอนแมลงวัน
  2. แมลงวันตัวเต็มวัย ใช้สารเคมี Cypas250EC vet (ไซเพอร์เมทริน : Cypermethrin), Fendona10SC(อัลฟ่าไซเปอร์เมทริน : α-Cypermethrin), Resigen (เปอร์เมทริน : Permethrin), Agita10WG (ไทอะมีทอกแซม : Thiamethoxam), Quick Bayt GR(อิมิดาโคลพริด:Imidacloprid) ฉีดพ่นตามพื้นที่ ผนังหรือชุบ ทาบนวัสดุแขวนดักบริเวณที่พบแมลงวันตัวเต็มวัย
  3. หนู ใช้เหยื่อพิษผสมสารเคมี วางดักบริเวณภายนอกรอบโรงเรือน อาคาร สำนักงานที่มักพบหนู เช่น Racumin (คูมาเตตระลิล : Coumatetralyl), Strom Pro (โฟลคูมาเฟน : Flocoumafen)