กรกฎาคม 6, 2023

วิตามินสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Knowledge ความรู้ทั่วไป

วิตามินสำหรับสัตว์น้ำมีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ เนื่องจากสัตว์น้ำไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง จึงต้องให้ความสำคัญกับประเภท ปัจจัย และ หน้าที่ของวิตามิน ที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

วิตามิน (Vitamin)

  • วิตามินเป็นสารอาหารรอง (micronutrients)
  • สัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์ได้หรือสังเคราะห์ได้น้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  • ร่างกายมีความต้องการในปริมาณเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เพราะวิตามินมีความจำเป็นต่อปฏิกิริยาทางเคมีต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  • สัตว์จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินจากกินอาหารโดยมีการเสริมวิตามินลงในอาหารหรือวิธีอื่นๆ

วิตามิน ที่สัตว์น้ำต้องการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  • วิตามินที่ละลายน้ำ มี 9 ชนิด ได้แก่ กลุ่มวิตามินบีรวม (B complex) ทำหน้าที่หลักเป็นโคเอนไซม์ คือ ไทอามีน(B1 ), ไรโบฟลาวิน(B2 ), ไนอะซิน(B3 ), กรดแพนโทตินิก(B5), ไพริดอกซีน(B6 ), โคบาลามิน(B12), กรดโฟลิก(Folic acid, M), ไบโอติน(Biotin, H) และ กรดแอสคอร์บิก (วิตามิน C)
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน มี 4 ชนิด ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค (A, D, E และ K)

บทบาทหน้าที่ของวิตามินต่อสุขภาพสัตว์น้ำ

  • การเจริญเติบโต (Growth) กระตุ้นความอยากกินอาหาร การย่อย ขบวนการเมตาบอลิซึมของร่างการทำให้กินอาหารได้มากขึ้น โตเร็ว มีอัตราการแลกเนื้อที่ดี
  • สุขภาพสัตว์ ( Health) ช่วยลดปริมาณของ Cortisol hormone ซึ่งจะหลั่งออกมาเมื่อสัตว์เกิดภาวะเครียด ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สร้างภูมิต้านทานและเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญของการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญในเนื้อเยื่อต่าง ๆ และเกี่ยวข้องกับสมานแผล
  • ระบบสืบพันธุ์ (Reproduction) ช่วยในระบบสืบพันธุ์ รวมถึงระยะลูกสัตว์น้ำวัยอ่อน การเสริมอาหารที่มีวิตามินในช่วงระยะแรกหลักการฟักจะช่วยลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนลดอัตราการตายในระยะแรก
  • ระบบเลือดและกระดูก (Blood & Meat) กระตุ้นการทำงานเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophils และ phagocytes ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรค ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสในลำไส้ให้เป็นไปอย่างปกติ มีความสำคัญต่อขบวนการสร้างเกล็ด เปลือก และกระดูก
  • โคเอนไซม์ (Coenzyme) ในระบบการเคลื่อนย้ายสารต่างๆในกระบวนการเมตาบอลิซึม

ตารางสรุปบทบาทหน้าที่ของวิตามินต่อสุขภาพสัตว์น้ำ

ปัจจัยความต้องการวิตามินของสัตว์น้ำ

  • ชนิดของสัตว์น้ำ
  • อายุของสัตว์น้ำ
  • คุณภาพของอาหาร
  • อิทธิพลของความเครียด

สัตว์น้ำที่ได้รับวิตามินไม่เพียงพอหรืออาการขาดวิตามิน เกิดขึ้นได้ 2 กรณี

  • กรณีอาหารมีวิตามินไม่เพียงพอต่อความต้องการ
  • กรณีอาหารมีวิตามินเพียงพอต่อความต้องการ แต่สภาพแวดล้อมของสัตว์น้ำเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ทำให้สัตว์น้ำต้องการวิตามินมากกว่าธรรมดา

ข้อควรระวังในการใช้วิตามินผสมลงไปในอาหารสัตว์เป็นสิ่งที่จําเป็น เนื่องจากว่า

  • วิตามินแต่ละชนิดมีความคงตัวที่ไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปจะสลายตัว หรือเสื่อมสภาพเมื่อถูกแสงความชื้น ความร้อน แร่ธาตุและเกลือของโลหะต่างๆ ดังนั้นจึงต้องคํานึงถึงความคงตัวการเก็บรักษา
  • อัตราความปลอดภัยของระดับวิตามินกว้างมากอย่างไรก็ตาม วิตามินกลุ่มละลายในไขมันหากมีในอาหารปริมาณที่มากเกินไป ทำให้สัตว์น้ำสะสมไว้ที่ตับ บางครั้งสะสมมากเกินไปจนเป็นอันตราย (Hypervitaminosis) แต่สัตว์น้ำสามารถขับถ่ายวิตามินที่ละลายน้ำทางปัสสาวะได้มากกว่าปริมาณที่ต้องการหลายเท่าจึงไม่มีการสะสมในร่างกาย
  • สภาพของสัตว์ของวิตามินที่ได้รับการรักษาด้วย ยาปฏิชีวนะบางตัวซึ่งมีผลต่อการ ทําลาย intestinal flora และทําลายการสร้างวิตามินของร่างกายจึงจําเป็นจะต้องเพิ่มวิตามินมากขึ้น