ยาฉีดใช้อย่างไร ให้ปลอดภัยคุ้มทุน

การเข้ามาแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกา ใน สุกร อาจทำให้เราให้ความสำคัญกับเรื่องบางเรื่องน้อยลง เช่น  การรักษาสุกรป่วย และการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่หรือในฟาร์มของเราเอง  เพราะความเชื่อในเรื่องของการแพร่กระจายของเชื้อโรคดังกล่าวทางเข็มฉีดยา   อย่างไรก็ดี เราสามารถลดความเสี่ยงเรื่องดังกล่าวและใช้ยาฉีดเพื่อการรักษาสุกรป่วยโดยการใช้เข็มแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในสุกรพันธุ์ หรือ ทำเครื่องหมายบนตัวสัตว์ที่มีการใช้เข็มร่วมกัน หรือการคัดแยกสุกรป่วยออกมารักษายังคอกป่วย อย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าการบริหารยาสำหรับสุกรนั้นมีได้หลากหลายวิธี เช่น การให้ยาผสมอาหาร  ยาละลายน้ำ และยาฉีด  ทำให้หลายคนเลือกนำวิธีดังกล่าวมาใช้  แต่ก็คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการใช้ยาฉีดเพื่อรักษาสุกรเป็นรายตัวเช่น  สุกรแม่พันธุ์  นั้นให้ผลตอบสนองต่อการรักษาที่ดี  และยังช่วยให้ลูกสุกร มีคุณภาพที่ดี เหมาะแก่การนำไปลงเลี้ยงต่อไป ยาฉีดที่ใช้ในฟาร์มสุกร มีการให้ได้หลายวิธี  กรณีที่หวังผลให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายมักให้โดยการฉีด เข้าหลอดเลือดดำ (intravenous injection) การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular injection) […]

10 สัญญาณอันตราย ที่จะทำให้การเลี้ยงสัตว์น้ำเกิดความสูญเสีย

เกษตรเลี้ยงปลาแบบมืออาชีพ ควรสังเกตอาการของปลาและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในบ่อ เพื่อจับสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเริ่มเกิดปัญหาขึ้นกับการเลี้ยงแล้ว และวางแผนจัดการแก้ไข อย่ารอจนเกิดปัญหาบานปลาย ปลาตายมาก ป่วยหนัก เพราะหากจัดการปัญหาล่าช้า กว่าจะรู้ แก้ปัญหาได้ ผลผลิตบางส่วนอาจเสียหายหรือทำให้ค่าประสิทธิภาพการผลิตตกต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นเราควรเรียนรู้เพื่อสังเกตสัญญาณอัตรายกันว่ามีสิ่งใดบ้าง และต้องป้องกัน/แก้ไขอย่างไรให้ทันก่อนสายเกินไป ปลาขาดอากาศ ลอยหัวตอนเช้ามืด ปลาลอยหัวหุบอากาศ ในตอนบ่าย สีน้ำเขียวเข้ม สีน้ำตาล มีซากแพลงก์ตอนตายลอยที่ผิวน้ำมาก สัตว์น้ำกินอาหารลดลงผิดปกติ น้ำมีค่าความเป็นด่างสูงมากๆ (pH สูงจัด) พบปลาตายพร้อมกันจำนวนมาก น้ำในบ่อเลี้ยงมีสีดำ มีกลิ่นเหม็น น้ำมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ปลาตายเมื่ออุณหภูมิน้ำสูงเกิน 32 องศา น้ำมีปริมาณไนไตรท์เป็นพิษ 1.ปลาขาดอากาศ ลอยหัวตอนเช้ามืด มักพบปลาลอยหุบอากาศที่ผิวน้ำจำนวนมาก หรือพบปลารวมกันมากบริเวณทางน้ำเข้าบ่อ แสดงว่าคุณภาพน้ำมีค่าออกซิเจนอยู่ในระดับที่ต่ำ สาเหตุ ระดับออกซิเจนที่ละลายน้ำอยู่ในระดับต่ำ 0-1ppm\ ปริมาณ […]

ความสำคัญของการพัฒนากระเพาะรูเมน และการหย่านม

การพัฒนาของกระเพาะรูเมน (Rumen) ในลูกโคก่อนหย่านมนั้นเริ่มต้นด้วยการได้รับอาหารข้นแรกเริ่ม (Starter) ที่ดีรวมทั้งการได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารที่จะช่วยย่อยทำให้เกิดการผลิตของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพาพิล่าร์ (Papillae) ที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหารในกระเพาะรูเมน (Rumen) โดยเฉพาะกลุ่มของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) คือ อะซิเตต (Acetate) โพรพิโอเนต (Propionate) บิวทิเรต (Butyrate) โดยที่โพรพิโอเนต (Propionate) บิวทิเรต (Butyrate) ได้รับจากการหมักย่อยแป้งและน้ำตาล ส่วนอะซิเตต (Acetate) ได้จากการหมักย่อยของเยื่อใย (Fiber) หรือ เซลลูโลส ซึ่งกลุ่มของกรดไขมันระเหย (Volatile Fatty Acid) มีฤทธิ์ในการกระตุ้นต่อพาพิล่าร์ (Papillae) ให้เกิดการพัฒนาหน้าที่ในการดูดซึมภายในกระเพาะรูเมน (Rumen) โดยเกิดจากการกระตุ้นจาก บิวทิเรต (Butyrate) โพรพิโอเนต (Propionate) อะซิเตต (Acetate) จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ฉะนั้นการหมักย่อยของคาร์โบไฮเดรตจึงเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในกระเพาะและการพัฒนาข […]

การบริหารจัดการวัคซีนละลายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับไก่

การให้วัคซีนโดยวิธีการละลายน้ำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการให้วัคซีน เนื่องจากไม่ต้องจับตัวไก่จึงทำให้ไก่เกิดความเครียดจากการให้วัคซีนน้อย ลดการใช้แรงงานคน อีกทั้งวัคซีนที่ให้โดยวิธีการละลายน้ำทั้งหมดเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ดังนั้นแม้วิธีการให้วัคซีนจะง่ายแต่ก็มีหลาย ๆ รายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การให้วัคซีนโดยวิธีการละลายน้ำแต่ละครั้งนั้นมีประสิทธิภาพ การจัดเก็บวัคซีน การขนส่งวัคซีนไปใช้งาน คุณภาพน้ำที่นำมาใช้ในการละลายวัคซีน วิธีการให้วัคซีนแบบละลายน้ำ การเตรียมอุปกรณ์ให้น้ำ การกระตุ้นให้ไก่กินวัคซีน การตรวจสอบการได้รับวัคซีน การจัดเก็บวัคซีน เนื่องจากวัคซีนเชื้อเป็นคือเชื้อที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลงและมีความไวต่อสภาพแวดล้อมภายนอกมาก ดังนั้นจึงต้องคำนึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ อุณหภูมิจัดเก็บ : เก็บรักษาวัคซีนตามที่ผู้ผลิตวัคซีนแนะนำ ซึ่งปกติจะจัดเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2 – 8OC ไม่เก็บวัคซีนในช่องแช่แข็ง ตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนควรแยกออกต่างหากโดยไม่ใช้ร่วมกันกับการเก็บอาหารและเครื่องดื่มเพราะจะเป็นเหตุให้มีการเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย ๆ อันจะทำให้อุณหภูมิในการจัดเก็บไม่คงที […]

การจัดการดูแลไก่เนื้อช่วง 7 วันแรก

การจัดการดูแลไก่เนื้อช่วงสัปดาห์แรกเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงที่อวัยวะต่างๆกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มในร่างกาย เพื่อให้ไก่เนื้อเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะต้องมีการจัดการที่เหมาะสมในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ 1.การเตรียมโรงเรือน สำหรับวงรอบการผลิตใหม่ เมื่อจับไก่ออกหมดฟาร์ม ผู้เลี้ยงจะล้าง ทำความสะอาด และพ่นฆ่าเชื้อโรงเรือนและอุปกรณ์ ต่างๆเช่น ถาดอาหาร อุปกรณ์ให้น้ำ ฝ้า เพดาน ม่าน หลังจากเสร็จเรียบร้อยฟาร์มควรพักโรงเรือน อย่างน้อย 14 วัน  เพื่อตัดวงจรการติดต่อของโรคบางชนิด ก่อนลงไก่ในรุ่นถัดไป 2.วันแรกที่ไก่มาถึงฟาร์ม ควรสุ่มชั่งน้ำหนัก 1-2 % ของฝูง และตรวจสอบคุณภาพลูกไก่ด้วยการสังเกตลักษณะภายนอก ลูกไก่ที่มีคุณภาพดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ ขนแห้งฟู นัยน์ตากลมสดใส สดใสตื่นตัวตลอดเวลา สะดือแห้งปิดสนิท ขาและแข้งสีสดใสเป็นมันวาว ขาและเข่าไม่มีลักษณะแดงช้ำ จะต้องไม่มีลักษณะผิดปกติ เช่น ขาโก่งบิดงอ คอบิดและจะงอยปากบิดไขว้ เป็นต้น 3.การรับลูกไก่ และการจัดการช่วงกกไก่ อุณหภูมิ เตรียมอุณหภูมิโรงเรือนและวัสดุรองพื้นให้เหมาะสม เนื่องจากลูก […]

3 หลักการความปลอดทางชีวภาพ เพื่อฟาร์มสัตว์ปีกคุณภาพ

3 หลักการความปลอดทางชีวภาพ เพื่อฟาร์มสัตว์ปีกคุณภาพ ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) คือระบบการจัดการและมาตรการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้าและออกจากฟาร์มรวมไปถึงลดการกระจายของเชื้อโรคภายในฟาร์มด้วย โดยมีหลักการ 3 ข้อดังนี้ การแยกสัตว์ (Isolation) คือ การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อม เช่น ที่ตั้งฟาร์มควรอยู่ห่างจากโรงชำแหละสัตว์ปีกหรือตลาดค้าสัตว์ปีกอย่างเหมาะสม มีรั้วสำหรับป้องกันสัตว์ มีการเลี้ยงที่แยกกลุ่มสัตว์ที่มีอายุต่างกัน มีการนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงและนำออกพร้อมกันหมด (all-in/all-out) เพื่อให้มีเวลาในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เป็นการตัดวงจรของเชื้อที่จะก่อโรค เป็นต้น การควบคุมการสัญจร (Traffic control) คือ การกำหนดและควบคุมการสัญจรภายในฟาร์มทั้งรถและคน รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แบ่งเขตเลี้ยงสัตว์-ไม่เลี้ยงสัตว์ชัดเจน การจำกัดบุคคลเข้าออก กำหนดเส้นทางเดินของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มให้เหมาะสม เป็นต้น สุขอนามัย (Sanitation) คือ การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ โรงเรือน บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ ที่จะเข้ามาในฟาร์มและออกนอกฟาร์ม ลักษณะเฉพา […]

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease) 

1.โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากอะไร เกิดจากเชื้อไวรัสสกุล Aphthovirus ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดในประเทศไทย พบ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดโอ เอ และเอเซียวัน(ชนิดเอเซียวัน พบระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2540)  เชื้อไวรัสแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อยนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งกันและกัน ดังนั้นสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด O จะสามารถเกิดโรคที่เกิดจากชนิด A และ Asia 1  2.สัตว์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อได้ สัตว์กีบคู่ เช่น   โค กระบือ สุกร จะแสดงอาการค่อนข้างรุนแรง   แพะ แกะ มักไม่ค่อยแสดงอาการแต่จะเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อสู่สัตว์กีบคู่อื่นๆได้  3.สัตว์ที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร โดยทั่วไปสัตว์ที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยมักมีอัตราการตายที่ต่ำ ยกเว้นในลูกสัตว์ขนาดเล็กที่อาจเสียชีวิตได้ง่าย ในสัตว์ที่ไม่เคยได้รับฉีดวัคซีนมักแสดงอาการรุนแรง ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูสุขภาพนานและกระทบต่อผลผลิตภายในฟาร์ม สัตว์บางตัวอาจไม่สามารถกลับมามีผลผลิตได้เหมือนเดิม  ในระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อย 2 – 8 วัน สัตว์จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร พบตุ่มใสที่เยื่อบุภายในช่องปาก ลิ้น เหงือก หรือเพด […]

เตรียมพร้อมหลังน้ำลด กู้วิกฤตน้ำแดง

“ฤดูน้ำแดง” หลายคนอาจไม่เคยได้ยินและสงสัยว่าฤดูนี้มีด้วยหรือ เพราะส่วนใหญ่เราจะรู้ว่า ถ้าเป็นประเทศในเขตร้อนอย่างประเทศไทยของเราจะมีสามฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แล้ว “ฤดูน้ำแดง” คืออะไร เกิดขึ้นที่ไหน คงเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับคนทั่วไป แต่ถ้าเป็นเกษตรกรที่เป็นชาวประมงเมื่อกล่าวถึง “ฤดูน้ำแดง” จะรู้กันดีว่าหมายถึงอะไร เนื่องจากเกี่ยวข้องกับอาชีพของพวกเขาโดยตรง “ฤดูน้ำแดง” หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่น้ำในแม่น้้าลำคลองเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปริมาณฝนจำนวนมากที่ตกหนัก ชะล้างหน้าดินและ พัดพาตะกอนธาตุอาหารต่างๆ ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทำให้น้ำกลายเป็นสีแดง ช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ส่วนมากแล้วจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมและคุณภาพน้ำอย่างรุนแรง ส่งผลต่อปลาอย่างไร สภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลที่มีความแตกต่างกันของอุณหภูมิความเข้มรังสีดวงอาทิตย์และปริมาณนํ้าฝนล้วนส่งผลต่อคุณภาพนํ้าในการเลี้ยงสัตว์นํ้าซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดผลผลิตสัตว์นํ้า อุณหภูมินํ้าจะมีผลต่ออุณหภูมิในร่างกายของสัตว์นํ้าซึ่งปรับตามอุณหภูมิสภา […]

ฟาร์มที่มีปัญหาไขมันต่ำมีสาเหตุมาจากอะไร

การปรับปรุงของแข็งไม่รวมไขมัน(SNF)และไขมัน(FAT)ในน้ำนมโค ก่อนอื่นเลยในเนื้อนมรวม(Total Solid) จะประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน และ แลคโตส ไขมัน(FAT) ในส่วนของไขมัน หรือ FAT ฟาร์มที่มีปัญหาไขมันต่ำมีสาเหตุมาจาก ในเรื่องของอาหารหยาบ แม่โคได้รับอาหารหยาบไม่เพียงพอ รวมไปถึงการให้อาหารหยาบเยอะแต่โคกินไม่หมด วิธีการแก้ไข คือ เพิ่มหญ้าสด ฟาง ต้นข้าวโพดสด หญ้าหมัก เป็นต้น และอาหารหยาบควรมีความยาวมากกว่า 2 เซนติเมตร เพื่อกระตุ้นการเคี้ยวเอื้อง ของแข็งไม่รวมไขมัน(SNF) จะประกอบไปด้วย โปรตีนและแลคโตส โปรตีน ในส่วนของโปรตีน ฟาร์มที่มีปัญหาโปรตีนต่ำมีสาเหตุมาจาก ในเรื่องการให้อาหารข้นที่ไม่เหมาะสมในช่วงการให้น้ำนมในแต่ละระยะปริมาณอาหารข้นที่ให้ไป อาจมากเกินไปหรือน้อยเกินไป วิธีการแก้ไข ควรเลือกอาหารข้นที่มีเปอร์เซนต์โปรตีนให้สอดคล้องในการรีดนมแต่ละระยะ เช่น โคให้นมมากควรมีเปอร์เซ็นต์ อาหารข้น 18-22 เปอร์เซ็นต์ โคให้นมกลางควรมีเปอร์เซ็นต์ 18 เปอร์เซ็นต์  โคให้นมน้อยควรมีเปอร์เซ็นต์ 16 เปอร์เซ็นต์ และในแต่ละระยะการให้นมควรให้อาหารข้นประมาณ ½ ของปริมาณน้ำนม แลคโตส ฟาร์มที่มีปัญหาแลคโตสต่ำให้เสริมอาหารที่ให้ […]

บอกลา…ปัญหาน้ำเสียในบ่อปลา

เนื้อปลา ถือได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีครับ ปัจจุบันจึงมีความต้องการบริโภคเนื้อปลาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลดีทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาของประเทศไทย เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก แต่การเลี้ยงปลา ในรูปแบบปัจจุบัน ที่มุ่งเน้น การเพิ่มผลผลิต ให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ก็ต้องพบกับปัญหาต่างๆ ในระหว่างการเลี้ยงปลา เพิ่มมากขึ้น ด้วยเช่นกัน หนึ่งในปัญหา ที่คนเลี้ยงปลา มักมีคำถาม เสมอๆ คือ ของเสียในบ่อเลี้ยงปลา มาจากที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลกระทบอย่างไรกับปลาที่เลี้ยง ของเสียในบ่อเลี้ยงปลา ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นจาก สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน ที่ได้มาจากสิ่งขับถ่ายของปลา และอาหารที่ปลากินเหลือ ครับ ของเสียจะสะสมอยู่ที่บริเวณพื้นก้นบ่อเลี้ยงปลา และเปลี่ยนรูปจากสารปประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน ไปอยู่ในรูปของก๊าซที่เป็นพิษต่อปลา ได้แก่ ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไนไตรท์ ก๊าซมีเทน และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือที่เรามักเรียกกันว่าก๊าซไข่เน่า ถ้าในน้ำมีปริมาณแอมโมเนียสูง มากกว่า 1 ppm ปลาจะว่ายน้ำขึ้นมาหายใจ บริเวณผิวน้ำ บริเวณลำตัวปลา หรือครีบปลา จะเป็นรอยแดงครับ เหงือกปลา จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำ เนื่องจากเลือดปลา ไม่ม […]

หัวใจสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคของสุกร

การออกแบบและวางแนวทางปฏิบัติงานในฟาร์ม ที่สอดคล้องกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ คือหัวใจสำคัญของการป้องกันและควบคุม โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) หมายถึง ระบบการจัดการ และมาตรการทางกายภาพ ที่ดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรค 1. โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์ม 2. หรือกระจายของเชื้อโรคภายในและออกจากฟาร์ม 3. รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในประชากรสัตว์ หลักการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม ความปลอดภัยทางชีวภาพประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ – การแยกสัตว์ (isolation) – การควบคุมการสัญจร (traffic control) – และสุขอนามัย (sanitation) การแยกสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ที่มีการควบคุมสภาวะแวดล้อม มีรั้วสำหรับป้องกันสัตว์เข้า และออกจากฟาร์ม รวมถึงการเลี้ยงดูที่มีการแยกกลุ่มสัตว์ที่มีอายุต่างกัน การนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงและนำออกพร้อมกันหมด (all-in/all-out) เพื่อให้มีเวลาในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เป็นการตัดวงจรของเชื้อที่จะก่อโรคภายในฟาร์ม การควบคุมการสัญจร ซึ่งครอบคลุมทั้งเส้นทางไปสู่ฟาร์มและภายในฟาร์ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม แพร […]

ความชื้นในอากาศสูงที่ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงไก่

ความชื้น(Humidity) คือ น้ำที่มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นลอยตัวอยู่ในอากาศปะปนรวมกับแก๊สต่างๆ เช่น  แก๊สไนโตรเจน แก๊สออกซิเจน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น รวมถึงฝุ่นซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งมีอนุภาคขนาดเล็กรวมอยู่ด้วย การวัดค่าปริมาณความชื้นในอากาศสำหรับการเลี้ยงไก่นิยมใช้ค่าความชื้นสัมพัทธ์(Relative humidity)เพื่อบ่งบอกปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่แนะนำสำหรับการเลี้ยงไก่ควรมีค่าอยู่ในช่วง 60–70% ในกรณีที่พื้นที่เลี้ยงไก่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 50% จะส่งผลให้ไก่สูญเสียน้ำออกจากร่างกายผ่านการระเหยของน้ำในระบบทางเดินหายใจไปสู่อากาศ นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์ที่ต่ำยังส่งผลทำให้ในโรงเรือนมีปริมาณฝุ่นสูงขึ้นจากอากาศมีปริมาณไอน้ำน้อย ในทางตรงกันข้ามเมื่อความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 70% จะส่งผลทำให้ไก่ระบายความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกายผ่านการระเหยของน้ำได้ยากขึ้น ทำให้ไก่เกิดภาวะความเครียดจากความร้อน (Heat street) เป็นสาเหตุทำให้ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ความชื้นสัมพัทธ์สูงยังเป็นสาเหตุให้สิ่งปูรองเปียกชื้นในการเลี้ยงไก่ […]

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease)

โรคปากและเท้าเปื่อยเกิดจากอะไร เกิดจากเชื้อไวรัสสกุล Aphthovirus ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ชนิดในประเทศไทย พบ 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดโอ เอ และเอเซียวัน(ชนิดเอเซียวัน พบระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2540) เชื้อไวรัสแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคปากและเท้าเปื่อยนั้นจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคซึ่งกันและกัน ดังนั้นสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด O จะสามารถเกิดโรคที่เกิดจากชนิด A และ Asia 1 สัตว์ชนิดใดบ้างที่สามารถติดเชื้อได้ สัตว์กีบคู่ เช่น โค กระบือ สุกร จะแสดงอาการค่อนข้างรุนแรง แพะ แกะ มักไม่ค่อยแสดงอาการแต่จะเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อสู่สัตว์กีบคู่อื่นๆได้ สัตว์ที่ติดเชื้อมีอาการอย่างไร โดยทั่วไปสัตว์ที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยมักมีอัตราการตายที่ต่ำ ยกเว้นในลูกสัตว์ขนาดเล็กที่อาจเสียชีวิตได้ง่าย ในสัตว์ที่ไม่เคยได้รับฉีดวัคซีนมักแสดงอาการรุนแรง ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูสุขภาพนานและกระทบต่อผลผลิตภายในฟาร์ม สัตว์บางตัวอาจไม่สามารถกลับมามีผลผลิตได้เหมือนเดิม ในระยะแรก หลังจากได้รับเชื้อไวรัสปากและเท้าเปื่อย 2 – 8 วัน สัตว์จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร พบตุ่มใสที่เยื่อบุภายในช่องปาก ลิ้น เหงือก หรือเพดาน หลังจากนั้น […]

ปัญหาพยาธิในเลือดโคแก้ได้ไม่ยาก

โรคพยาธิในเลือดของโคนมเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีสาเหตุจาก การติดเชื้อปรสิตหลายชนิด ได้แก่ อะนาพลาสมา (Anaplasma sp.), บาบีเซีย (Babesia sp.), ไทเลอเรีย (Theileria sp.) และทริฟพาโนโซม (Trypanosome sp.) เป็นต้น โดยพยาธิ 3 กลุ่มแรกมีเป้าหมายอยู่ที่ เม็ดเลือดแดงของโค พยาธิในเลือดจะอาศัยอยู่ในน้ำเลือดหรือในเม็ดเลือดแดง และมีการเพิ่มจำนวนขึ้นโดยอาศัย องค์ประกอบต่างๆที่มีอยู่ในส่วนประกอบของน้ำเลือด มีผลทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตก หลังจากที่สัตว์ได้รับเชื้อ สำหรับทริฟพาโนโซมอยู่ใน พลาสมาของเลือด พยาธิในเลือดมีพาหะที่สำคัญได้แก่ เห็บโค (boophilus microplus) และแมลงดูดเลือด เช่น เหลือบ (tabanids) สามารถถ่ายทอดเชื้อจากโคที่มีเชื้อไปสู่โคตัวอื่นๆในฝูงได้  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในด้านผลผลิตและระบบสืบพันธุ์ของโคนม ในด้านผลผลิตโคนม ที่เป็นโรคพยาธิในเลือดจะมีสุขภาพทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด และผลผลิตน้ำนมลดลง ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้จากผลผลิตน้ำนมที่ลดลงและไม่สามารถส่งขายน้ำนมได้ เนื่องจากมีการปนเปื้อน ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา และมีค่าใช้จ […]

โรคระบบทางเดินอาหารในไก่ที่สำคัญ

โรคระบบทางเดินอาหารในไก่ที่สำคัญ เรียบเรียงโดย น.สพ.ธนวัฒน์ ฤกษ์อุดม บริการวิชาการสัตว์ปีก โรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะได้แก่ ปาก คอหอย  หลอดอาหาร กระเพาะบด กระเพาะแท้ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือทวารหนัก ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว หรือพยาธิ สารพิษที่ถูกผลิตโดยเชื้อโรคบางชนิดและสารพิษจากอาหารก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้เช่นกัน นอกจากนี้การจัดการที่ไม่เหมาะสมเช่น อุณหภูมิในโรงเรือนที่สูงเกินไปทำให้ไก่อยู่ในสภาวะเครียด หรือพนักงานบกพร่องในการฆ่าเชื้อน้ำสำหรับให้ไก่กินและไม่มีการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ให้น้ำก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของไก่เช่นเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อผลผลิตไข่ในไก่ไข่และการเจริญเติบโตของไก่เนื้อเป็นปัญหากวนใจเกษตรกรอยู่เสมอ โดยโรคระบบทางเดินอาหารในไก่ที่พบได้บ่อย เช่น โรคบิด โรคลำไส้อักเสบแบบมีเนื้อตาย และสภาวะไก่ถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นต้น โรคบิด เกิดจากการติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียวในสกุลอัยเมอเรีย ปัจจุบันชนิดที่พบและมีความสำคัญในไก่มี 7 ชนิด เป็นโรคที่มีผลทำลายเยื่อเมือกของลำไส้ ทำให้ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ถ่ายเป็ […]

เลี้ยงปลาหน้าร้อนให้ปลอดโรค

โรคสัตว์น้ำที่สำคัญช่วงหน้าร้อนและแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง หลายๆ ท่าน อาจจะมีคำถามว่าในอดีตที่ผ่านมาเราเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคหรือความเสียหายเกิดขึ้นสักเท่าไร แต่ทำไมในระยะหลังนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพอเข้าสู่หน้าร้อนทีไร สัตว์น้ำมักจะน๊อคหรือป่วยตายครั้งละมากๆ สร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงเป็นอย่างยิ่ง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าในปัจจุบันการเลี้ยงได้พัฒนาขึ้น ผู้เลี้ยงมีประสบการณ์สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้เก่งขึ้น ปล่อยสัตว์น้ำหนาแน่นมากขึ้น เมื่อเลี้ยงหนาแน่น การกินอาหารก็เพิ่มขึ้น ขับถ่ายของเสียมาก หากเราไม่มีระบบการจัดการของเสียในบ่อที่ดี ก็อาจทำให้คุณภาพน้ำเน่าเสียได้ง่าย นอกจากนี้พื้นก้นบ่อยังมีของเสียและเชื้อโรคสะสม ประกอบกับภาวะโลกร้อน ที่ร้อนและแล้งมากขึ้นทุกปี ในน้ำที่ร้อนนี้เอง สัตว์น้ำจะเครียด ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อก่อโรคสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวนสูง ทำให้เข้าก่อโรคสัตว์น้ำได้โดยง่าย เราจึงพบปัญหาสัตว์น้ำป่วยติดเชื้อตายตามมา แม้ว่าเราจะมีการเตรียมตัวรับมือกับปัญหาการเลี้ยงสัตว์น้ำในหน้าร้อนเป็นอย่างดี แต่เมื่อสัตว์น้ำป่วยแล้ว ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา เ […]

อยากกลับมาลงหมูใหม่ ทำอย่างไรให้รอด

การกลับมาเลี้ยงใหม่เป็นเรื่องที่เกษตรกรหลายคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรมาอย่างยาวนาน แต่ประสบปัญหา ASF มีความกังวลเมื่อต้องกลับมาลงเลี้ยงอีกครั้ง ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ในการเลี้ยงสุกรในพื้นที่เดิมที่เคยเกิดปัญหาหากมีการจัดการที่ดี เราอาจจะไม่พบปัญหาซ้ำอีก ทั้งนี้เราอาจกำหนดมาตรการต้องทำและ อย่าหาทำ ดังต่อไปนี้ 5 สิ่งที่ต้องทำ ทำความสะอาดให้เหมือนใหม่ให้มากที่สุด เล้าเก่าให้เหมือนใหม่ เป็นเรื่องที่ยากแต่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดโรงเรือน พื้น ผนัง เพดาน เป็นอย่างดี แต่ พบบ่อยว่า ยังเก็บมูลสุกรไว้ในถุงข้างโรงเรือน หรือ ไม่มีการลงปูนขาวในบ่อน้ำทิ้ง ทางระบายน้ำ หรือ บ่อเกรอะ ซึ่งอาจเป็นแหล่งของเชื้อที่อาจจะหลงเหลือได้ นอกจากนี้ จุ๊บน้ำ รางอาหาร และ cooling pad ต้องถอดออกล้าง ฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรซ่อมแซมเล้าให้เหมาะแก่การเลี้ยงสุกร โดยไม่ก่อให้เกิดความเครียด หรือปรับปรุงเล้าเป็นระบบปิดหากยังเป็นเล้าเปิด ตรวจสอบว่าเชื้อ ASF ไม่หลงเหลือ ต้องยอมรับว่าอาจทำได้ไม่ 100% แต่เราต้องมีการสุ่มตรวจจุดที่มีความเสี่ยงในการสะสมเชื […]

การป้องกันภาวะความเครียด เนื่องจากความร้อน (Heat Stress)

โคนมสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสบาย (comfort zone) ในช่วงอุณหภูมิ 4-25 ◦C ซึ่งอุณหภูมิหน้าร้อน เฉลี่ยสูงสุดปี 2563 >36.1 ◦C ปัญหาที่พบในหน้าร้อน โคมีการหายใจสูงกว่า 80 ครั้ง/นาที หรือหอบ เป็นอาการที่สังเกตเห็นได้เมื่อเกิดสภาพเครียดจากความร้อน โคกินอาหารน้อยลง กินน้ำเพิ่มขึ้น ได้รับโภชนะ โดยเฉพาะพลังงานไม่เพียงพอเนื่องจากโคต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิของร่างกายลง สูญเสียสมดุล กรด-ด่างในร่างกาย ทำให้เกิดกระเพาะหมักมีสภาพเป็นกรดและมีปัญหาเจ็บกีบ กีบอักเสบตามมา การเคี้ยวเอื้องน้อยลง ค่า pH ในกระเพาะหมักลดลง มีการสูญเสียน้ำลายที่เป็นตัวปรับสภาพ pH ในกระเพาะหมัก ผลผลิตและคุณภาพน้ำนมลดลง มากกว่า 20 % การเป็นสัดน้อยลงและสั้น ผสมติดยาก อัตราการผสมติดลดลง ปัญหาการแท้งตายของตัวอ่อนระยะแรกเพิ่มขึ้น หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม แม่โคจะหาที่นอนที่เย็น ซึ่งมักชื้นแฉะ จึงอาจเกิดปัญหาเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น ความร้อนในโคนมเกิดจากอะไรบ้าง ความร้อนเนื่องจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย ความร้อนจากการให้ผลผลิต ทุก 0.45 กิโลกรัมของน้ำนมที่แม่โคผลิตได้จะมีการผลิตความร้อนภายในร่างกายถึง […]

แนวทางในการลดปัญหาจากสภาพอากาศร้อนในไก่ไข่

สัตวแพทย์ชำนาญการ บริการวิชาการสัตว์ปีก ช่วงที่อุณหภูมิในสภาพแวดล้อมสูงเรามักจะพบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงด้วยเช่นเดียวกันซึ่งพบได้เป็นปกติในช่วงฤดูร้อน ความเครียดจากความร้อนสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อฝูงไก่ไข่โดยทำให้ไก่กินอาหารได้ลดลง ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ คุณภาพเปลือกไข่ และความสูงไข่ขาวลดลง พบการตายทั้งจากสภาพอากาศร้อนและการจิกกันมากขึ้น ไก่ติดเชื้อหรือป่วยได้ง่ายขึ้นจากสภาวะกดภูมิคุ้มกันหากเครียดเนื่องจากกระทบสภาพอากาศร้อนเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สัมพันธ์กับอุณหภูมิสูงสุดที่ไก่ได้รับ ช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงนั้นดำเนินไป อัตราการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในแต่ละวัน รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ เมื่ออุณหภูมิสภาพแวดล้อมสูงไก่จะเริ่มมีการอ้าปากหอบหายใจที่เร็วขึ้นเพื่อเพิ่มการระเหยของน้ำจากทางเดินหายใจเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย แต่หากการหอบของไก่ไม่สามารถทำให้อุณหภูมิร่างกายคงที่ได้ไก่จะแสดงอาการหมดแรงและบางครั้งอาจหมดสติและตายลงได้เลยทีเดียว ซึ่งฝูงไก่ที่ไม่เคยชินกับอุณหภูมิสูง ๆ มาก่อนจะเกิดการสูญเสียของผลผลิตและตายมากที่สุด ดังนั้นการลดความเสียหายจากสภาพอากาศร้อนจำเป็นอย่างมากที่จะ […]

ปัจจัยความเครียดที่มีผลต่อสัตว์น้ำในฤดูร้อน

“ฤดูร้อน” เป็นช่วงที่สร้างความไม่สบายใจให้กับผู้เลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมาก เนื่องจากมักเกิดความเสียหายขึ้นในกับสัตว์น้ำได้ง่ายและรุนแรง ด้วยปัจจัยจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงกลางวัน แต่อาจมีพายุฝนในช่วงบ่าย ขาดแคลนน้ำเปลี่ยนถ่าย น้ำในแม่น้ำไม่มีการไหลเวียน และโรคระบาดต่างๆ ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าในฤดูร้อนนั้นสร้างผลกระทบกับสัตว์น้ำของเราอย่างไรบ้าง ผลกระทบของฤดูร้อนต่อสัตว์น้ำ อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น โดยทั่วไปสัตว์น้ำในเขตร้อนจะมีช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะต่อการดำรงค์ชีวิตอยู่ในช่วง 28-30oC แต่ในช่วงฤดูร้อนที่มีแดดจัด ช่วงบ่ายอุณภูมิของน้ำอาจจะสูงได้มากกว่า 35 oC เมื่ออุณหภูมิสูงเกินช่วงที่เหมาะสมสัตว์น้ำจะเกิดความเครียดขึ้น ทำให้ความอยากอาหารจะเปลี่ยนไป กล่าวคือ หากอุณหภูมิของน้ำอยู่ในช่วง 31-33oC สัตว์น้ำจะอยากกินอาหารมากขึ้นจากปกติ แต่การอยากกินที่สูงขึ้นไม่สัมพันธ์กับความสามารถการย่อยและการดูดซึมของตัวสัตว์น้ำเอง จะสังเกตุได้ว่าเมื่อสัตว์น้ำกินอาหารเพิ่มขึ้น แต่สีของน้ำในบ่อจะเขียวเข้มขึ้นหรือของเสียในน้ำจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดผลเสียกับตัวสัตว์น้ำเอง แต่หากอุณหภูมิของน้ำสูงจนมา […]

แนวทางการประหยัดน้ำในฟาร์มสุกร

การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าในการเลี้ยงสุกรเป็นสิ่ งที่ผู้เลี้ยงสุกรสามารถ ปฎิบัติได้ การลดปริมาณการใช้น้ำในการดำเนินงานได้ โดยเฉพาะฟาร์มขนาด ใหญ่ต้องใช้น้ำปริมาณมากในการทำความสะอาดโรงเรือน อุปกรณ์ ฉีดล้างของเสีย แนวทางการจัดการน้ำที่ดีเพื่อสามารถลดปริมาณการใช้น้ำและมีน้ำใช้ในฤดู ขาดแคลนสามารถทำได้ดังนี้ ซ่อมท่อน้ำรั่วทันที น้ำที่รั่ว 90 หยดต่อนาทีจะทำให้เสียน้ำ 29 ลิตรต่อวัน แช่คอกก่อนการฉีดล้าง การแช่คอกก่อนจะช่วยคลายสิ่งสกปรกแล้วตามด้วย การฉีดล้างจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำลงและลดเวลาในการล้างคอก 40% เลือกอุปกรณ์ให้น้ำที่ลดการสูญเสีย การให้ดื่มน้ำจากราง อาหารจะสูญเสียน้ำมากกว่าดื่มน้ำจากจุ๊บน้ำ การใช้จุ๊บน้ำแบบกัดจะลดปริมาณการใช้น้ำมากกว่าจุ๊บน้ำแบบธรรมดา 40% การติดตั้งจุ๊บน้ำที่เหมาะสม ควรติดตั้งที่ความสูง 10 ถึง 15 เซนติเมตร เหนือกลางหลังของสุกร หากติดตั้งต่ำเกิน ทำให้มีน้ำถึง 60% ไหลออกทางด้านอื่นของปากสุกร และควรปรับอัตราการไหล ของน้ำตามประเภทของสุกร ปรับสูตรอาหารให้เหมาะสม อาหารที่มีความเข้มข้นของ โปรตีนสูงเกิน ร่างกายต้องใช้น้ำในปริมาณที่สูงในการขับถ่าย ไนโตรเจนส่วนเกิน การจัดก […]

การจัดการน้ำในฟาร์ม (สัตว์ปีก)

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทุกสายพันธุ์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกมีการใช้น้ำทั้งในการอุปโภคและบริโภคของสัตว์ ในร่างกายของสัตว์ปีกมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 70% ส่วนในไข่ไก่ก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงประมาณ 65% ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่เฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 – 2.5 เท่าของน้ำหนักอาหารที่ไก่ไข่กินต่อวันในสภาพอากาศปกติ แต่ปริมาณการกินน้ำของไก่ไข่อาจเพิ่มเป็น 4 เท่าในสภาพอากาศร้อน การเลี้ยงสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ในปัจจุบันจะเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดหรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า “โรงเรือนอีแวป” ควบคุมอุณหภูมิในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ด้วยระบบการระเหยของน้ำจากแผ่นทำความเย็น (cooling pad)ร่วมกับการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (tunnel ventilation) ทำให้มีปริมาณการใช้น้ำในแต่ละวันเป็นปริมาณมาก น้ำมีความสำคัญต่อการเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นอย่างมากแต่ในทางตรงกันข้ามการจัดการระบบน้ำในฟาร์มมักถูกมองข้ามหรือเอาใจใส่ในรายละเอียดน้อย จนบ่อยครั้งเกิดผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและปริมาณลดต่ำลงนอกจากควรมีปริมาณเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภคในฟาร์มแล้วควรมีการตรวจคุณภาพน้ำเพื่อให้ทราบว่าน้ำที่ใช้มีคุ […]

การจัดการน้ำในฟาร์มโคนม

ในการเลี้ยงโคนมโดยเฉพาะอย่างในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทย น้ำมีบทบาทสำคัญในการผลิตน้ำนมเป็นอย่างมาก โดยนมประกอบด้วยน้ำถึง 85 เปอร์เซ็นต์จึงไม่น่าแปลกใจที่การดื่มน้ำของวัวจะมีผลอย่างมากต่อการผลิตน้ำนมของโค เมื่อคุณจัดหาน้ำที่เหมาะสมวัวจะดื่มมากขึ้นและผลิตนมได้มากขึ้น นอกจากนี้ยัง ช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย, ควบคุมแรงดันออสโมติคในกระแสเลือด, ผลิตน้ำลายซึ่งช่วยในกระบวนการเคี้ยวเอื้อง,ขนส่งสารอาหาร ฮอร์โมน สารเคมีต่างๆในร่างกาย และยังช่วยควบคุมสมดุลอุณหภูมิในร่างกายโคโดยการระเหยของน้ำผ่านผิวหนังและจากการหายใจ โดยทั่วไปโคนมจะดื่มในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น (7-12 ครั้งต่อวัน) โดยเฉพาะหลังการกินอาหารและหลังรีดนม ความต้องการน้ำของโคนม โคในช่วงให้นมต้องการน้ำดื่มต่อวันเฉลี่ยวันละ 60-90 ลิตร/ตัว/วัน เพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึม โดยโคนมต้องการน้ำอย่างน้อย 3 ลิตรเพื่อผลิตน้ำนม 1 ลิตร นั่นหมายความว่า วัว 1 ตัว ที่ให้ผลผลิตน้ำนมเฉลี่ย 13 กิโลกรัมต้องการน้ำเพื่อใช้ผลิตน้ำนมมากกว่า 45 ลิตร/ตัว/วัน และขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่ร้อนและน้ำหนักตัวของโค ความต้องการน้ำอาจสูงขึ้นได้ โคนมมักดื่มน้ำเร็วถึง 20 ลิตรต […]

การควบคุมแมลงภายในฟาร์มโคนม (Fly Control)

แมลงภายในฟาร์มโคนมสามารถก่อให้เกิดการแพร่กระจายของโรคและสร้างการระคายเคืองให้แก่โค โดยการดูดเลือดหรือเพียงแต่สร้างความราคาญก็สามารทำให้น้ำนมและน้ำหนักลดตามมาได้  สิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดการและสุขาภิบาลที่เหมาะสมของมูลสัตว์ อาหารสัตว์และโรงเรือน วงจรชีวิตแมลง ต้องรู้จักชนิดและเข้าใจวงจรชีวิตของแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาภายในฟาร์ม สารเคมีที่ใช้ ต้องเข้าใจและรู้จักสารเคมีที่จะเลือกมาใช้กำจัดและควบคุมแมลงอย่างถูกต้อง TIP ระบุชนิดของแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาให้ได้ ! แมลงแต่ละชนิดย่อมมีเทคนิคและวิธีกำรจัดกำรควบคุมที่แตกต่ำงกันเพื่อให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิภำพสูงสุด หาหนอนหรือตัวอ่อนให้เจอ มองหาบริเวณการเจริญเติบโตของตัวอ่อนแมลง เช่น ขอบบ่อหลุมหมัก แหล่งอาหารเหลือ ที่กักเก็บมูลสัตว์แหล่งน้ำเสีย ใต้รางอาหาร ฟางหรือหญ้าแห่งเปียกชื้นเน่าเสีย หากพบแล้วให้ทำลายตัวอ่อนและทำบริเวณนั้นให้แห้งหรือกำจัดทิ้ง จัดการของเสียและสารอินทรีย์วัตถุ ทำความสะอาด ทำให้แห้ง ทำลำย บำบัดนำเสียอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารและเพาะพันธุ์แมลง